0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14






นำเสนอ : เอชไอวี /เอดส์ :  เธอก็เกี่ยวนะ (30 นาที)

เอกสารอ่านประกอบ - HIV/Aids  (word doc)

ตัวจริงเสียงจริง

ตัวจริงเสียงจริงเรื่องที่ 1 - ศักดิ์ศรี

ตัวจริงเสียงจริงเรื่องที่ 2 - แฟนหนุ่ม

ตัวจริงเสียงจริงเรื่องที่ 3 - โดดเดี่ยว

ตัวจริงเสียงจริงเรื่องที่ 4 - กำพร้า

ตัวจริงเสียงจริงเรื่องที่ 5 - พลังหนุ่มสาว

บทความและงานที่มอบหมาย

คำแนะนำสำหรับงานวิเคราะห์ข่าว/ บทความจากหนังสือพิมพ์

Websites





โดย จิราวัฒน์  จารุพันธ

ข้อมูลจาก นสพ. เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549

            สถานการณ์ปัจจุบันเริ่มเข้าขั้นวิกฤติ ได้เวลาเอาจริงซะทีกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในกลุ่มเยาวชน  เมื่อทางกระทรวง
สาธารณสุขได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาของภาครัฐและเอกชน ระดมสมองเพื่อร่วมมือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยงต่อเอดส์
ในกลุ่มเยาวชน นักเรียน และนักศึกษาทั่วประเทศ

            หลังจากที่สถิติในปัจจุบัน เด็กและเยาวชนของไทยต้องกลายเป็นเหยื่อไวรัสมรณะนี้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน และหากปล่อยสถานการณ์ยังเป็นอยู่
แบบนี้จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการสาธารณสุขของประเทศ เนื่องจากเด็กและเยาวชนในวันนี้ คือผู้ที่มีส่วนสำคัญในการ
นำพาประเทศไทยให้เดินหน้าต่อไปในอนาคตข้างหน้า! ?!

            ที่ผ่านมาประเทศไทยถือเป็นประเทศหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการลดการเผยแพร่ระบาดเชื้อไวรัสในผู้ป่วยรายใหม่ จากที่เคยมีผู้ติดเชื้อ
พุ่งขึ้นสูงถึง 143,000 คน เมื่อปี 2534 จนถึงปัจจุบันไทยมีตัวเลขผู้ติดไวรัสเอชไอวี รายใหม่อยู่ประมาณ 1 หมื่นกว่าคน

            ทั้งนี้จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรค ตั้งแต่ปี 2527 ถึง 31 ธันวาคม 2548 ประเทศไทยมีผู้ป่วยเอดส์สะสมที่ได้รับแจ้งจาก
สถานพยาบาลของรัฐและเอกชน จำนวน 283,668 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 79,422 ราย ในกลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคือ กลุ่มวัยทำงานอายุ 20-39 ปี

            สำหรับสาเหตุการติดเชื้อเอชไอวี เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ถึง 83.75% รองลงมาคือ การติดยาเสพติดชนิดเข้าเส้น 4.73%

            อย่างไรก็ตามคณะผู้เชี่ยวชาญ Thai Working Group ได้ประมาณการว่าในปี 2547 -2549 จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในกลุ่มอายุ 15-19 ปี และ
อายุ 20-24 ปี จะมีอัตราการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มวัยรุ่นหญิงสูงกว่าชาย

            นอกจากนี้ยังได้ประมาณการติดเชื้อเอดส์สะสมในปี 2549 จะมีประมาณ 1,109,000 ราย และในจำนวนนี้เป็นเด้กที่ติดเชื้อประมาณ 53,400 ราย
มีผู้ติดเชื้อสะสมประมาณ 600,600 ราย และเป็นผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ที่ต้องการการรักษาพยาบาลประมาณ 508,300 ราย และจะมีผู้ติดเชื้อรายใหม่
จำนวน 17,000 ราย

            ปัญหาเอดส์ในสังคมไทยในวันนี้ ถึงแม้จะยังไม่ถึงขั้นรุนแรงเหมือนเช่นอดีตที่ผ่านมา แต่จากสถิติกลับพบว่าผู้ติดเชื้อรายใหม่กลับกลายเป็น
เด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษาเพิ่มมากขึ้น!!!

            จากข้อมูลในการประชุมหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับสถาบันการศึกษาของภาครัฐและเอกชนเมื่อเร็วๆ นี้ ระบุว่า ผู้ที่มีอายุ
ระหว่าง 15-24 ปี เป็นผู้ติดเชื้อกว่า 30,000 คน จากจำนวนผู้ติดเชื้อที่มีอาการทั้งหมด 374,827 ราย ทั่วประเทศ

            เยาวชนกว่า 3 หมื่นคนที่ติดเชื้อเอดส์นั้น 84% เป็นการได้รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์!!!

            จำนวนตัวเลขเยาวชนที่ติดเชื้อ และสาเหตุจากการติดเชื้อเอดส์ดังกล่าว ทำให้ นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ถึงกับยอมรับว่าปัญหาเอดส์กับวัยรุ่น เริ่มเข้าขั้นวิกฤติแล้ว!!! หากยังไม่ดำเนินการแก้ปัญหานี้อย่างจริงจังจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม
และการพัฒนาประเทศในอนาคตอย่างแน่นอน

            ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นไทยกลายเป็นเหยื่อโรคเอดส์มากขึ้นในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งมาจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป มีการรับวัฒนธรรม
ของตะวันตกเข้ามามาก สังคมมีเสรีภาพทางเพศมากขึ้น จนทำให้เด็กจำนวนมากมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร โดยที่ยังไม่มีความรู้ในการป้องตนเอง
โดยเฉพาะจากข้อมูลผลสำรวจในกลุ่มเด็กนักเรียนมัธยมปีที่ 5 อายุประมาณ 15 ปี เมื่อปี 2547 พบว่า เด็กวัยรุ่นมีเสรีภาพทางเพศมากขึ้น และมี
เพศสัมพันธ์กันตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งเด็กผู้ชายมีเพศสัมพันธ์แล้ว 23% ส่วนเด็กผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์แล้ว 5%

            แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากก็คือเด็กเหล่านี้มีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้ป้องกันตนเอง โดยเด็กผู้ชายมีการใช้ถุงยางอนามัยเพียง 23% ส่วนเด็กผู้หญิง
มีการให้คู่นอนใช้ถุงยางอนามัยเพียง 15% เท่านั้น

            ส่วนผลสำรวจในส่วนของวัยรุ่นในกลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษาชั้นปีที่ 2  ยิ่งเป็นสิ่งน่าเป็นห่วงอย่างมากเพราะผลสำรวจที่ออกมา พบว่าเด็กผู้ชาย
ในกลุ่มนี้มีเพศสัมพันธ์แล้ว 100% แต่มีการใช้ถุงยางอนามัยเพียง 11%

            ทั้งหมดถือเป็นความเสี่ยงที่เด็กเหล่านี้จะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือกลายเป็นพาหะในการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสเอชไอวี รวมถึง
การตั้งครรภ์โดยไม่พึงปรารถนา จนนำไปสู่การทำแท้ง และทำให้เกิดปัญหาสังคมอื่นๆ ตามมาอีก

            จนถึงเวลาแล้วที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันในการวางแผนแก้ปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จ และเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพราะหากปล่อยให้
สถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไป

            ความสูญเสียที่เกิดขึ้นคงไม่อาจประเมินค่าได้ โดยเฉพาะการสูญเสียบุคลากรที่จะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต!!!

งานที่มอบหมาย

ให้นักเรียนจับกลุ่ม เริ่มต้นด้วยการอ่านข่าว/ บทความ  จากนั้นตอบคำถามข้างล่างนี้
บอกประเด็นสำคัญ 5 ประเด็นในบทความนี้
นักเรียนคิดว่า อะไรเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศไทยลดลงเหลือประมาณ 1 หมื่นกว่าคน จากเดิม
     ที่เคยสูงถึง 1 แสนกว่าคน
นักเรียนคิดว่า อะไรเป็นสาเหตุให้มีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มเด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา   โปรดระบุมา 3 เหตุผลพร้อมคำอธิบาย
หากจะมีเพศสัมพันธ์ วิธีการใดที่จะป้องกันตนเองจากการติดเชื้อเอชไอวี  ให้บอกมา 3 วิธี
นักเรียนจะปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อป้องกันตนเองจากการติดเชื้อเอชไอวี  ให้บอกมา 4 วิธี
จากสถานการณ์การติดเชื้อในกลุ่มเด็กเยาวชนที่รุนแรงมากขึ้นเช่นนี้  นักเรียนคิดว่าตนเองจะมีโอกาสติดเชื้อหรือไม่ โปรดอธิบาย
โปรดเขียนคำตอบลงในกระดาษเพื่อนำเสนอหน้าชั้นต่อไป







ข้อมูลจาก ฉบับที่ 1679  นสพ.คมชัดลึก วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม 2549

            วิกฤติหญิงทั่วโลกวัย 15-24 ปี ติดเชื้อเอดส์รายใหม่วันละ 6,000 คน ขณะที่หญิงไทยติดเชื้อแล้ว 3 หมื่น พบร้อยละ 70 เป็นหญิงมีคู่แล้วติดจากสามี
จี้สภาออกกฎหมายคุ้มครองอนามัยเจริญพันธุ์  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง
(สคส.) แถลงข่าง “วิกฤติหญิงไทยไม่ปลอดภัยเรื่องเพศ”น.ส.ณัฐยา บุญภักดี จากมูลนิธิ สคส. เปิดเผยว่า ทุกวันที่ 28 พฤษภาคมของทุกปี เครือข่ายผู้หญิง
เพื่อสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ที่มีสมาชิกทั่วโลก กำหนดให้เป็นวันสุขภาพผู้หญิงสากล ปีนี้ที่ประชุมมีมติว่า วิกฤติที่ต้องเร่งแก้ไขคือ ผู้หญิงกับเอชไอวี/เอดส์
เพราะทั้งประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาพบปัญหาเดียวกับคือ ผู้หญิงติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ มากขึ้น โดยปี 2548 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ทั่วโลก
30-40 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้หญิงถึงครึ่งหนึ่ง โดยผู้หญิงอายุ 15-24 ปี เป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ มีอัตราเฉลี่ยถึงวันละ 6,000 คน

            ในส่วนของประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ อายุระหว่าง 15-24 ปี ประมาณ 3 หมื่นคน เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น
เหมือนกัน ทุกประเทศ คือผู้หญิงที่มีคู่แล้วติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์จากสามี โดย หญิงไทยพบสูงถึงร้อยละ  70 ถือเป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก เพราะแทบไม่มี
โอกาสป้องกันตัวเอง ทั้งที่บางคนรู้ว่าสามีไปมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่น แต่กลับไม่ยอมใช้ถุงยางอนามัย ดังนั้น ในส่วนนี้ผู้หญิงควรรู้จักการปฏิเสธเพื่อขอ
ให้ใช้ถุงยางอนามัย เลิกคิดว่าการคิดเช่นนี้เป็นเรื่องของผู้หญิงไม่ดี

            อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ร่างกฎหมายคุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์อยู่ในขั้นตอนของสภาผู้แทนราษฎรซึ่งจะครอบคลุมทุกเพศทุกวัย ในเรื่อง
สิทธิสุขภาพทางเพศ ข้อมูลด้านเพศศึกษาที่ควรรู้การดูแลเมื่อตั้งครรภ์ กระบวนการให้คำปรึกษาเมื่อประสบปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม เป็นต้น ทั้งนี้
ถือเป็นเครื่องมือทางกฎหมายแรกของประเทศไทย และจะเป็นประเทศแรกในภูมิภาค และอันดับ 5 ของโลก หากกฎหมายออกมาโดยสมบูรณ์

            น.พ..สมบัติ แทนประเสริฐสุข ผอ.โรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา
ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมักจะเป็นกลุ่มผู้ติดยาและผู้ชายนักท่องเที่ยว แต่ตอนนี้เปลี่ยนมาเป็นกลุ่มผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 24 ปีแล้ว คาดว่าผู้ติดเชื้อกลุ่มนี้น่าจะ
มีมากกว่า 3 หมื่นคน สาเหตุหลักมาจากการมีเพศสัมพันธ์กับคนรักหรือเพื่อนโดยไม่มีการป้องกัน ด้วยแรงกระตุ้นทางเพศจากกระแสสังคม ที่มีมากขึ้น
เรื่อยๆ  ทำให้วัยรุ่นหันเหไปสนใจเรื่องการมีเพศสัมพันธ์มากกว่าการป้องกันตัว

            น.พ.สมบัติ ยอมรับว่า  การรณรงค์เรื่องเอดส์ในปัจจุบันไม่ค่อยได้ผลเท่าที่ควร เพราะเข้าไม่ถึงวัยรุ่น และงบประมาณมีจำกัด หากเปรียบเทียบ
กับสื่อลามกที่มีวางจำหน่ายอยู่ทั่วไป สามารถเข้าถึงวัยรุ่นได้ง่ายกว่ามาก ทำให้ดูเหมือนว่าการรณรงค์น้อยและไม่เพียงพอ  ทั้งที่มีการรณรงค์กัน
อย่างต่อเนื่อง ซึ่งวิธีการรณรงค์คงจะต้องปรับเปลี่ยนกันไปตามสังคม   อาจจะจัดกิจกรรมร่วมกับการแข่งขันกีฬาทุกประเภทรือปรับเปลี่ยนความคิด
ทัศนคติของวัยรุ่นชายให้เกียรติผู้หญิงมากขึ้น

งานที่มอบหมาย

ให้นักเรียนจับกลุ่ม เริ่มต้นด้วยการอ่านข่าว/ บทความ  จากนั้นตอบคำถามข้างล่างนี้
การที่ผู้หญิงไทยติดเชื้อจากคนรัก/ สามีมากถึง 70% แสดงถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิงอย่างไรบ้าง โปรดอภิปราย
การที่สังคมมีความเชื่อผิดๆ ว่า “ผู้หญิงที่ดี” จะต้องไม่พูดเรื่องเพศ แม้ว่าจะแต่งงานแล้วก็ตาม (ไม่ต่อรอง ไม่ปฏิเสธความต้องการของคนรัก/ สามี)
     ส่งผลเสียต่อสุขภาพผู้หญิงอย่างไร
นอกเหนือจากเหตุผลที่ว่า “รัก” แล้ว  ยังมีเหตุผลใดอีกบ้างที่ทำให้ผู้หญิงมักไม่ป้องกันเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับคนรัก
ความหมายของคำว่า “อนามัยเจริญพันธุ์” ครอบคลุมเรื่องอะไรบ้าง (ดูจากร่างกฎหมาย)
ให้นักเรียนนำเสนอแผนการรณรงค์เรื่องเอดส์ที่ได้ผลดีและสามารถเข้าถึงวัยรุ่นได้ดี มา 2 แผน  โปรดอธิบายเป็นขั้นเป็นตอนสำหรับการรณรงค์
โปรดเขียนคำตอบลงในกระดาษเพื่อนำเสนอหน้าชั้นต่อไป

 




บทความโดย ณัฐยา บุญภักดี คอลัมน์เสียงสตรี หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2549

วันเด็กเป็นวันที่มีกิจกรรมน่าสนุกหลายอย่างให้เด็กได้เพลิดเพลิน ทั้งกิจกรรมที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเสียเงินและที่ไม่ต้องเสียเงินลอดสัปดาห์
ก่อนหน้านี้ก็มีการสร้างบรรยากาศของการ “เอาใจเด็ก” ให้หอมฟุ้งไปทั่วประเทศ แน่นอนว่าเด็ก (ส่วนหนึ่ง) ในเมืองได้รับโอกาสพิเศษนี้ไปเต็มๆ
แต่อย่าลืมว่าเรายังมีเด็กอีกจำนวนมากที่อยู่ในภาวะยากลำบากและเข้าไม่ถึงการเอาอกเอาใจเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์”

เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เปิดเผยรายงานสถานการณ์เด็กและเยาวชนไทย พ.ศ. 2546-2547
ซึ่งสรุปว่าปัญหาเด็กในภาวะยากลำบากจัดเป็นปัญหาที่มีความสำคัญลำดับหนึ่ง (ในท่ามกลางปัญหาของเด็กและเยาวชน) ที่รัฐบาลควรให้การดูแล
รายงานฉบับนี้ยังบ่งชี้ถึงแนวโน้มที่เราควรต้องใส่ใจว่าขณะนี้จำนวนเด็กกำพร้าที่พ่อแม่เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ และเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 25 ปี
ที่เป็นโรคเอดส์มีแนวโน้มสูงขึ้น

ด้านคณะผู้เชี่ยวชาญของไทยก็เคยคาดประมาณตัวเลขผู้ติดเชื้อเอดส์ที่เป็นเด็กว่าในปี 2548 น่าจะมีจำนวนรวมประมาณ 50,620 คนจากจำนวน
ผู้ติดเชื้อเอดส์ทั้งหมดประมาณล้านกว่าคนทั่วประเทศไทย หรือประมาณ 4.6 % และคาดว่าในปี 49 นี้น่าจะมีเด็กที่ติดเชื้อเอดส์จำนวนรวม 53,400 คน
คือมากขึ้นกว่าเดิมอีก 3 พันกว่าคน ขณะที่รายงานประจำปี 2547 ขององค์การยูนิเซฟได้ให้ตัวเลขว่าจำนวนเด็กที่มีเชื้อเอชไอวีและถูกทอดทิ้ง
อยู่ที่สถานสงเคราะห์ของรัฐในช่วงปี 2535-2540 มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 25 % ซึ่งตรงกันกับรายงานผลการศึกษาระหว่างปี 2535-2537 ที่พบว่าแม่ที่ติดเชื้อ
เอชไอวี มีอัตราการละทิ้งทารกหลังคลอดสูงกว่าแม่ ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวีถึงเกือบ 6 เท่า และจนถึงปัจจุบันนี้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ติดตามดูและพบว่ามีเด็กที่แม่ติดเชื้อเอชไอวียกมอบลูกให้สถานสงเคราะห์ดูแลแบบถาวรแทบจะทุกเดือน

ลำพังการที่ใครสักคนได้รู้ว่าตัวเองติดเชื้อเอชไอวีก็เป็นวิกฤตที่หนักหนาสาหัสเกินพอแล้ว แต่นี่มารู้เอาตอนที่ไปฝากท้อง ลองนึกว่าถ้าเป็นตัวเรา
จะรู้สึก อย่างไร จะคิดถึงเรื่องอะไร และจะทำอะไรบ้าง

ไม่แน่ใจว่าข้อมูลเกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวีของทารกเป็นที่รับรู้กันมากน้อยและถูกผิดแค่ไหนอย่างไร แต่จากข้อมูลที่มีอยู่ เรารู้กันแล้วว่า
โดยทั่วไปทารก ที่เกิดจากแม่ที่เป็นผู้มีเชื้อเอชไอวีจะมีโอกาสได้รับเชื้อประมาณ 25-30 % และโอกาสที่จะติดเชื้อนี้จะลดลงเหลือแค่ 2-8 %   ถ้าแม่
ได้รับยาต้านไวรัสในระยะใกล้คลอดและเด็กได้รับต่ออีก 1-6 สัปดาห์หลังคลอดโดยต้องใช้วิธีให้เด็กดื่มนมผสม (แทนนมแม่) ร่วมด้วย   และ ถ้า
ผู้หญิงท้องที่มีเชื้อเอชไอวีได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องก่อนที่จะเจ็บท้องคลอดและก่อนที่จะมีน้ำเดิน ก็จะยิ่งช่วยลดโอกาสที่ทารกติดเชื้อลงไปได้อีก

ประเด็นสำคัญอยู่ตรงนี้ ว่ามีการบอกข้อมูลนี้แก่ผู้หญิงท้องที่เพิ่งรู้ตัวว่าตัวเองมีเชื้อเอชไอวีหรือไม่ และถ้าได้บอก คำถามต่อไปคือเป็นการบอก
ด้วยท่าทีอย่างไร เป็นการบอกด้วยเจตนาจะให้ผู้หญิงที่กำลังจะเป็นแม่นั้นเกิดความรู้สึกอย่างไร อันนี้สำคัญมากเพราะถ้าได้รับความใส่ใจในการ
ให้ข้อมูลก็น่าจะช่วยลดโอกาสที่แม่ผู้ติดเชื้อจะยกลูกให้สถานสงเคราะห์อย่างถาวร หรือลดความเสี่ยงของการทิ้งเด็กตามโรงพยาบาลหรือสถานที่
สาธารณะลงได้

ไม่เพียงแต่ปัญหาการทอดทิ้งเด็กที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อเอชไอวีเท่านั้น เรายังมีอีกหลายปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์
ซึ่งเวลาที่ใช้คำว่า “เด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์” จะมีทั้งเด็กที่รู้แน่แล้วว่ามีเชื้อเอชไอวี และเด็กที่ไม่มีเชื้อเอชไอวีแต่เป็นเด็กกำพร้าเนื่องมาจาก
เอดส์ หรืออยู่ในครอบครัวที่มีผู้ติดเชื้อหรือเป็นผู้ป่วยเอดส์ รวมถึงเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่ว่าจะด้วยสาเหตุจากอะไรก็ตาม

ปัญหาสำคัญที่สุดคือ การตีตราและการเลือกปฏิบัติ ซึ่งมีที่มาจากอคติที่มีต่อผู้ติดเชื้อ และความเข้าใจเรื่องเอดส์ที่ไม่ถูกต้อง เรายังคงพบว่า
เด็กเหล่านี้ถูกแบ่ง แยกและเลือกปฏิบัติทั้งจากที่บ้าน ชุมชน โรงเรียน และสถานพยาบาล ถูกเพื่อนและครูล้อเลียน รังเกียจ ถูกญาติพี่น้อง ทอดทิ้ง
ไม่เหลียวแลผู้ติดเชื้อบางคนเล่าให้ฟังว่าบางสถานพยาบาลจัดให้เด็กที่มีเชื้อเอชไอวีมี “ที่นั่งพิเศษ” แยกจากผู้ป่วยเด็กทั่วไป ที่สำคัญคือมีการ
พูด เสียงดังๆด้วยว่า “เด็กเอดส์ให้มานั่งทางนี้”

ที่เอามาเล่านี้ก็เพื่อจะบอกว่าการตีตราและการเลือกปฏิบัติที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ใช่เรื่องแปลก หรือผิดบาปเสียจนต้องพากันปฏิเสธ
ความจริง เพราะข้อเท็จจริงก็คือเจ้าหน้าที่รัฐเป็นส่วนหนึ่งของคนในสังคมไทยซึ่งเป็นสังคมที่ยังมีอคติต่อผู้ติดเชื้อ จึงควรยอมรับว่าเรื่องอย่างนี้
เป็นดัชนีชี้ให้เห็นว่าสังคมไทยยังคงมีปัญหาการตีตราและการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อและเราทั้งหมดควรต้องใส่ใจที่จะแก้ไขกันต่อไป ไม่ใช่เพื่อ
โยนบาปให้ใครคนใดคนหนึ่ง

เด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ส่วนใหญ่ยังคงเผชิญปัญหาความยากจน ครอบครัวที่ยากจนอยู่แล้วเมื่อต้องดูแลสมาชิกครอบครัว ที่เป็นผู้ป่วย
เอดส์ก็ยิ่งต้อง ลำบากมากขึ้น ครอบครัวที่เคยพอมีพอกินก็อาจกลายเป็นยากจนข้นแค้น และถ้าความยากจนเป็นปัญหาเดิมของครอบครัว โอกาสที่จะ
ใส่ใจดูแลเด็กก็ยิ่งจะน้อยลงเพราะต้องแก้ไขปัญหาการทำมาหากินก่อน

เด็กไม่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ ซึ่งอาจเป็นเพราะพ่อแม่กำลังป่วย หรือพ่อแม่เสียไปหมดเหลือเพียงคนแก่ช่วยดูแล บางกรณีพ่อแม่
แยกทางกัน หลังรู้ผลเลือด กรณีแบบนี้ถ้าญาติผู้ใหญ่ที่เหลืออยู่มีความเข้าใจ พร้อมที่จะดูแลเด็กต่อไป ก็จะไม่เป็นปัญหามากนัก แต่ถ้าเด็กขาด คนดูแล
ก็อาจต้องจบลงด้วยการส่งเข้าสถานสงเคราะห์หรือกลายเป็นเด็กเร่ร่อนไร้ที่พึ่งพิง โดยทิ้งคำถามไว้สำหรับคุณภาพชีวิตเด็กในวันข้างหน้าและโอกาส
ที่จะกลายมาเป็นภาระของสังคม

นอกจากนี้ ญาติพี่น้องก็อาจปฏิเสธเด็กกำพร้าที่พ่อแม่จากไปเพราะเอดส์ เด็กอาจถูกญาติฉ้อโกงทรัพย์สิน เด็กอาจไม่ได้รับการรักษาเพราะคิดว่า
อยู่ได้ไม่ กี่ปีก็ตาย ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่งเพราะเด็กที่มีเชื้อเอชไอวีสามารถเรียนหนังสือและเติบโตมีชีวิตได้ตามปกติพียงแต่ต้องได้รับ
การดูแลรักษา ที่ดีได้มาตรฐาน

ในบางกรณีก็พบอีกด้านหนึ่งของการให้ความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ คือให้มากเกินไปเพราะสงสาร ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลเสียต่อการพัฒนาเด็ก
เพราะอาจตามใจ จนเกินพอดี หรือบางกรณีก็ควบคุมพฤติกรรมเด็กมากจนเด็กเกิดความเครียดในการดำเนินชีวิต

ปัจจุบันมีองค์กรพัฒนาเอกชนหลายแห่งและสถานสงเคราะห์ของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯที่เปิดบ้านพักรับเด็กๆที่ได้รับผลกระทบ จากเอดส์
มาดูแล อย่าง เช่น สถานสงเคราะห์เด็กบ้านเวียงพิงค์ที่เชียงใหม่ ศูนย์คามิลเลียนที่ระยอง ในกรุงเทพก็มีศูนย์เมอร์ซี่ที่คลองเตย เป็นต้น บ้านพัก
ของเอกชนส่วนใหญ่ สามารถดูแลเด็กได้เพราะได้รับเงินบริจาคจากผู้มีน้ำใจในสังคม บางศูนย์เคยได้รับงบประมาณอุดหนุนจากกระทรวง การพัฒนา
สังคมฯ แต่ก็ได้ข่าวมาว่าปีนี้ยังไม่รู้ว่าจะได้รับอีกหรือไม่

เมื่อถึงวันเด็ก บ้านพักส่วนใหญ่จะจัดงานให้เด็กๆอยู่ภายในบ้านนั้นแหละ หรือไม่ก็มีผู้ใหญ่ใจดีเข้าไปจัดงานและเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กๆ
โอกาสที่จะได้ ออกมา เปิดหูเปิดตาในงานใหญ่ๆอย่างมหกรรมการ์ตูนที่เมืองทองธานีคงเป็นไปได้ยากสำหรับเด็กกลุ่มนี้

ต้องยอมรับความจริงว่าสถานการณ์ประเทศไทยตอนนี้จัดอยู่ในช่วงของคลื่นลูกที่สี่ของการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ คือเริ่มมีการระบาดของโรค
เข้าไปในกลุ่ม ที่เคยถูกจัดว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ และเริ่มที่จะเห็นผลกระทบของการแพร่ระบาดที่มีต่อกลุ่มประชากรเด็ก ผู้หญิงและ ผู้สูงอายุ
ถึงเวลาที่ต้องมาดำเนินการให้ทั้งสังคมมีความรู้ความเข้าใจมากเพียงพอที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีได้อย่างสงบสุขและไม่เบียดเบียนกัน
ซึ่งองค์กรพัฒนาเอกชนที่ติดตามทำงานช่วยเหลือเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สังคมไม่จำเป็นต้องดูแลเด็กเหล่านี้
เป็นพิเศษมากกว่า เด็กทั่วไป แค่ดูแลอย่างเท่าเทียมกันเท่านั้นแหละที่เด็กๆเหล่านี้ต้องการมากที่สุด

งานที่มอบหมาย

ให้นักเรียนจับกลุ่ม เริ่มต้นด้วยการอ่านข่าว/ บทความ  จากนั้นตอบคำถามข้างล่างนี้
บอกประเด็นสำคัญ 5 ประเด็นในบทความนี้
ผู้หญิงอยู่ในภาวะเปราะบางต่อการติดเชื้อเอชไอวีมากกว่าผู้ชายเพราะปัจจัยเชิงสังคมวัฒนธรรม  ให้นักเรียนอธิบายว่า เหตุใดจึงมีคำกล่าวเช่นนั้น
ปัจจัยเชิงสรีระทำให้ผู้หญิงที่อายุต่างกันมีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีแตกต่างกันได้อย่างไร จงอธิบาย
ความรุนแรงทางเพศ เช่น ข่มขืน เพศสัมพันธ์ที่ถูกบังคับ เกี่ยวข้องอย่างไรกับความเสี่ยงที่มีมากขึ้นของผุ้หญิงต่อการติดเชื้อ
“วัฒนธรรมเงียบ” เกี่ยวข้องอย่างไรกับการที่ผู้หญิงได้รับการอบรมสั่งสอนให้ไม่ข้องเกี่ยวในเรื่องเพศ หรือยุ่งเกี่ยวกับอวัยวะเจริญพันธุ์ของตนเอง
นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ว่า ผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวี เป็นคนบาป กรุณาให้เหตุผลประกอบ
โปรดเขียนคำตอบลงในกระดาษเพื่อนำเสนอหน้าชั้นต่อไป



บทความโดยจิตติมา ภาณุเตชะ จากคอลัมน์เสียงสตรี นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม 2549

มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง   www.whaf.or.th

           วันพรุ่งนี้ 28 พฤษภาคม เป็นวันรณรงค์สุขภาพผู้หญิงสากลซึ่งเริ่มต้นกันมาตั้งแต่ปี 2530 เมื่อเครือข่ายผู้หญิงทั่วโลกเพื่อสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์
(Women's Global Network for Reproductive Rights –WGNRR) ประชุมกันที่คอสตาริกา ที่ประชุมได้เห็นพ้องต้องกันว่า เพื่อให้ประชาคมโลกตระหนัก
ถึง ความสำคัญของสุขภาพผู้หญิง และเพื่อให้ผู้หญิงเข้าถึงสิทธิและบริการสุขภาพที่จำเป็น ควรกำหนดวันรณรงค์ทั่วโลกเพื่อสุขภาพผู้หญิงขึ้นมา

หลังจากนั้นก็มีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเครือข่ายจะเลือกปัญหาหนักที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพผู้หญิงขึ้นมารณรงค์ ในปีแรกๆด้รณรงค์
ประเด็น เกี่ยวกับสุขภาพและการเสียชีวิตที่เกี่ยวเนื่องกับการตั้งครรภ์และการคลอด ต่อมาได้ขยายกรอบการรณรงค์ให้กว้างขึ้น โดยเน้นมุมมอง
สิทธิมนุษยชน และให้มีความครอบคลุมประเด็นหลากหลายที่มีผลกระทบต่อสุขภาพผู้หญิง เช่น การปฏิรูประบบสุขภาพ ข้อตกลงทางการค้าวามรุนแรง
ต่อผู้หญิง

สำหรับปี 2549 ประเด็นผู้หญิงกับเอชไอวี/ เอดส์ถูกหยิบยกขึ้นเป็นวาระของการรณรงค์ร่วมกันเพราะจากการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาทั่วโลก
พบว่า ผู้หญิงตกอยู่ในภาวะเปราะบางต่อการติดเชื้อเอชไอวีโดยที่โครงการป้องกันผู้หญิงจากการติดเชื้อเอชไอวีของประเทศต่างๆ ยังไม่มีหรือมีแต่ยังไม่
มีประสิทธิภาพเพียงพอ   ข้อมูลจากองค์การเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) ระบุว่าจนถึงปี 2548 ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อที่เป็นหญิงราว 15-20   ล้านคน
ในจำนวนผู้ติดเชื้อรวม 30-40 คนโดยประมาณ และในแต่ละวันมีผู้หญิงอายุ 15-24 ปีติดเชื้อเอชไอวีโดยเฉลี่ยวันละ 6,000 คน

ภาวะเปราะบางที่ส่งผลให้ผู้หญิงมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อเอชไอวี/ เอดส์นั้น มีที่มาจากสาเหตุปัจจัยทั้ง ปัจจัยเชิงสรีระ ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้หญิง
มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อเอชไอวีได้มากกว่าชายนับสิบเท่า เนื่องจากอวัยวะเพศมีพื้นที่ผิวสัมผัสกับเชื้อโรคต่างๆมากกว่า   ผู้หญิงที่อายุน้อยมีความเสี่ยง
ต่อการติดเชื้อได้ง่ายเพราะเนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ยังไม่เจริญเต็มที่  ผู้หญิงวัยทองมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงเช่นกัน เพราะช่องคลอดมีความ
ชุมชื้นน้อยลงขณะมีเพศสัมพันธ์

แต่ปัจจัยเชิงสังคมวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อภาวะเปราะบางนี้ยิ่งกว่าปัจจัยเชิงสรีระ เพราะทำให้ผู้หญิงอยู่ในสถานะที่มีอำนาจในการ
ตัดสินใจ มีบทบาท มีทรัพยากร ที่จะใช้ปกป้องตัวเองได้น้อยกว่าผู้ชาย เช่น ปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและการค้าหญิง ซึ่งแน่นอนว่าเพศสัมพันธ์
ที่ถูกบังคับ ย่อมเป็นเพศสัมพันธ์ที่ฝ่ายหญิงไม่มีโอกาสปกป้องตัวเอง ความปลอดภัยเกิดขึ้นได้ยาก   ซึ่งจากรายงานผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
ความรุนแรงต่อผู้หญิงและการติดเชื้อเอชไอวี/ เอดส์ พบว่า ผู้หญิงที่ถูกทุบตีโดยสามีหรือคู่รัก มีแนวโน้มที่ติดเชื้อเอชไอวีสูงถึง 48% นอกจากนี้ผู้หญิง
ที่ต้องพึ่งพาสามีหรือคู่ทั้งด้านการเงินและจิตใจมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อสูงถึง 52% สภาพของปัญหาความรุนแรงทางตรง ความรุนแรงทางเพศ และการ
ครอบงำทางเศรษฐกิจจึงทำให้ผู้หญิงไม่อยู่ในสถานะที่จะคุ้มครองชีวิตและความปลอดภัยของตัวเองได้

เครือข่ายผู้หญิงทั่วโลกเพื่อสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ สรุปผลการวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ว่าสังคมใดมีสถิติความรุนแรงต่อผู้หญิงสูง และ/หรือ สถานภาพทางสังคมและการศึกษาของผู้หญิงยังคงต่ำ ก็จะมีแนวโน้มที่ผู้หญิงในสังคมนั้นมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์สูงเช่นกัน

เมื่อมามองในบ้านเรา สถานการณ์ปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากดูเฉพาะจำนวนคดีทางเพศก็จะพบว่า
มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี   สำนักงานตำรวจแห่งชาติรายงานเมื่อปี 2548 ว่ามีคดีข่มขืนรุมโทรมและฆ่าข่มขืนมากถึง 5065 คดี เฉลี่ยต่อวันมีผู้หญิงถูกข่มขืน
และล่วงละเมิดทางเพศ 14 คน ซึ่งมีการคาดประมาณว่าคนที่เข้าแจ้งความเป็นเพียงร้อยละ 5 ของเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงเท่านั้น

ปัจจัยเชิงสังคมวัฒนธรรมว่าด้วยวัฒนธรรมเรื่องเพศเป็นอีกสาเหตุที่สำคัญ หรือจะเรียกว่าเป็นปัจจัยรากเหง้าของภาวะเปราะบางต่อการ
ติดเชื้อเอชไอวี/ เอดส์
ก็ว่าได้   ในหลายสังคมรวมทั้งสังคมไทยเอง ยังคงมีบรรทัดฐานว่า ผู้หญิงไม่ควรข้องเกี่ยวกับเรื่องเพศ ยังคงให้คุณค่าต่อผู้หญิง
กับเรื่องเพศว่า ยิ่งไม่ประสีประสาในเรื่องเพศยิ่งเป็นผู้หญิงที่ดี น่ายกย่องและให้เกียรติ การอบรมสั่งสอนเกี่ยวเนื่องด้วยเรื่องเพศที่แฝงฝังอยู่
ในชีวิตประจำวันจึงมีผลต่อการพัฒนาความรู้สึกที่ผู้หญิงมีต่อร่างกายที่เป็นเพศหญิงของตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นความรู้สึกทางลบ เช่น รู้สึกว่า
เป็นผู้หญิงมันยุ่งยากเสียจริง อยากตัดมดลูกทิ้งจะได้สบายตัว

ด้วยความรู้สึกเชิงลบเหล่านี้ ทำให้เรามักเจอว่าผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่มีความรู้พื้นฐานในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพทางเพศของตน ซ้ำยังมีความ
เข้าใจผิดฝังอยู่เต็มไปหมด และมีผู้หญิงน้อยคนที่ได้พูดคุยเรื่องสุขภาพทางเพศกับคนอื่น แม้กระทั่งกับหมอหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข   ดังนั้น สุขภาพทางเพศและทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ “เรื่องเพศ” จึงกลายเป็น “วัฒนธรรมเงียบ” สำหรับผู้หญิง

วัฒนธรรมทางเพศแบบนี้ไม่ใช่ของดี เพราะมันกีดกันคนบางกลุ่มบางพวกออกจากกระบวนการสร้างความภาคภูมิใจในตัวเอง สร้างคุณค่า
ทางบวกให้แก่อัตลักษณ์ของตนเอง และยังเข้าไม่ถึงความรู้พื้นๆที่ควรต้องรู้ ซึ่งเป็นการผลักให้คนตกอยู่ในภาวะไม่ปลอดภัย ซึ่งเมื่อมาผนวกกับ
มายาคติของเรื่องผู้หญิงและเอชไอวี/เอดส์จึงทำให้ผู้หญิงทั่วๆไปกลายเป็นเพศที่มีอัตราการติดเชื้อเอชไอวีแบบทวีคูณ ยกตัวอย่างเช่น :

  • มายาคติว่าผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะมีความปลอดภัยจากเอดส์เพราะมีเพศสัมพันธ์กับสามีเพียงคนเดียว
    แต่ข้อเท็จจริงคือมีผู้หญิงมากมายติดเชื้อเอชไอวีจากสามีซึ่งตนมีเพศสัมพันธ์ด้วยเป็นคนแรกในชีวิต
  • มายาคติว่าผู้หญิงไม่ต้องป้องกันเอชไอวี/เอดส์เพราะ “เรารักกัน/เราไว้ใจกัน”
    ความจริงคือคนส่วนใหญ่ติดเชื้อเอชไอวีเพราะความไว้ใจคนที่เรานอนด้วย
  • มายาคติว่ามีแต่หญิงบริการทางเพศ ชายรักชาย คนเสพยาโดยใช้เข็ม เท่านั้นที่ติดเชื้อเอชไอวี ในขณะที่ทุกวันนี้กลุ่มผู้หญิงทั่วๆไป
    ติดเชื้อกันมากขึ้นเพราะโครงการป้องกันเอดส์ต่างก็มุ่งทำงานแต่กับคนบางกลุ่มที่คิดว่าเสี่ยงมากที่สุด
  • มายาคติว่าคนที่ติดเชื้อเอชไอวีนั้นเป็นคนบาป โรคนี้เกิดขึ้นมาเพื่อเป็นการลงโทษคนที่มีพฤติกรรมทางเพศแบบ “สำส่อน”
    แต่ความจริงก็คือผู้หญิงและผู้ชายจำนวนมากติดเชื้อเอชไอวีทั้งๆที่มีคู่เพียงคนเดียว

เมื่อมายาคติเรื่องการติดเชื้อเอชไอวีมาผนวกเข้ากับวัฒนธรรมทางเพศที่สนใจแต่จะชี้ถูกผิดดีเลว จึงกลายเป็นการสร้างพื้นที่ ของความ
ไม่ปลอดภัยขึ้นมาล้อมกรอบการใช้ชีวิตทางเพศของคนทุกคนในสังคม และคนที่ถูกทำให้อ่อนแอที่สุดก็ได้รับผลกระทบมากที่สุด ไปตามระเบียบการ
ปรับปรุงวัฒนธรรมทางเพศแบบไทยๆให้กลายเป็นวัฒนธรรมเรื่องเพศที่ปลอดภัยเท่านั้นที่เป็นทางออกของสังคมไทยในวันนี้ก่อนที่จะสายเกินแก้
                           
วันที่ 28 พฤษภาคมของทุกปีจึงเป็นเพียงสัญลักษณ์ เพราะการรณรงค์เพียงวันเดียวไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงอะไรได้ต่ถึงอย่างไรก็เป็น
ความสำคัญในแง่ของการเป็นหมุดหมายของทุกประเทศทั่วโลกที่จะขับเคลื่อนสังคมให้หมุนไปพร้อมกัน เพื่อส่งสัญญาณให้โลกรู้ว่าอย่ามองข้ามปัญหา
สุขภาพผู้หญิง เพราะประเทศชาตินั้นเองที่จะได้รับผลกระทบมากกว่าใคร

งานที่มอบหมาย

ให้นักเรียนจับกลุ่ม เริ่มต้นด้วยการอ่านข่าว/ บทความ  จากนั้นตอบคำถามข้างล่างนี้
บอกประเด็นสำคัญ 5 ประเด็นในบทความนี้
ผู้หญิงอยู่ในภาวะเปราะบางต่อการติดเชื้อเอชไอวีมากกว่าผู้ชายเพราะปัจจัยเชิงสังคมวัฒนธรรม  ให้นักเรียนอธิบายว่า เหตุใดจึงมีคำกล่าวเช่นนั้น
ปัจจัยเชิงสรีระทำให้ผู้หญิงที่อายุต่างกันมีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีแตกต่างกันได้อย่างไร จงอธิบาย
ความรุนแรงทางเพศ เช่น ข่มขืน เพศสัมพันธ์ที่ถูกบังคับ เกี่ยวข้องอย่างไรกับความเสี่ยงที่มีมากขึ้นของผุ้หญิงต่อการติดเชื้อ
“วัฒนธรรมเงียบ” เกี่ยวข้องอย่างไรกับการที่ผู้หญิงได้รับการอบรมสั่งสอนให้ไม่ข้องเกี่ยวในเรื่องเพศ หรือยุ่งเกี่ยวกับอวัยวะเจริญพันธุ์ของตนเอง
นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ว่า ผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวี เป็นคนบาป กรุณาให้เหตุผลประกอบ
โปรดเขียนคำตอบลงในกระดาษเพื่อนำเสนอหน้าชั้นต่อไป





http://www.prachatai.com/05web/th/columnist/viewcontent.php?ColumnistID=7&ID=7&ContentID=1923&SystemModuleKey=Column&System_
Session_Language=Thai

            ..... เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา    ผมทราบข่าวว่า   ทางหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ ซึ่งเป็นองค์กรของภาครัฐ นั่นคือ
“กรมควบคุมโรค”   กระทรวงสาธารณสุข จะมีการประกวดจัดทำสื่อรณรงค์การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ผ่านโทรศัพท์มือถือ   ผ่านสื่อต่างๆ    ได้แก่
คลิปวิดีโอ  วอลล์เปเปอร์  ริงโทน     และคอลลิ่ง เมโลดี้

            โดยการจัดทำสื่อนี้ ต้องเป็นการผลิตขึ้นใหม่ ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ของที่มีในระบบท้องตลาด โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เน้นไปถึง “บรรดาวัยรุ่น”
ซึ่งมีเนื้อหาประเด็นการป้องกัน ลดพฤติกรรมเสี่ยงเอดส์ คือ การรักนวลสงวนตัว – การรักเดียวใจเดียว – การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

            หลังทราบเรื่องดังกล่าวนี้        ผมถึงกับตื่นเต้นขึ้นมาทันที ที่มีคนคิดที่จะสื่อสารเรื่องเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยผ่านสื่อเทคโนโลยีไร้สาย   โดยเจาะ
มายังกลุ่มวัยรุ่น และที่สำคัญคือ คนที่คิดขึ้นมานี้  คือ   กรมควบคุมโรค     ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ซึ่งนั้นหมายความว่า ภาครัฐเริ่มเอาจริงเอาจังกับการ
สื่อสารเรื่องเอดส์และเพศศึกษากับวัยรุ่น โดยคำนึงถึงการเข้าถึงข้อมูลของวัยรุ่นท่ามกลางกระแสคลิปวิดีโอที่แพร่หลายในโลกที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง
ในปัจจุบัน   ทว่าความพยายามครั้งนี้ของกรมควบคุมโรค ยังมีแง่มุม 2 อย่างหลักๆ ที่ผมอยากกล่าวถึง


มุมหนึ่ง เรื่องการสื่อสารเรื่องเพศที่เจาะเข้าถึงกลุ่มวัยรุ่น  

            จากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ รายใหม่ที่มีการสะสมขึ้นในแต่ละปี พบว่า 1 ใน 4 ของผู้ติดเชื้อรายใหม่คือ กลุ่มอายุ 15 – 25 ปี นั้นคือ
กลุ่มวัยรุ่นนั่นเอง ทั้งนี้ปัจจุบันพบว่าในเมืองไทย ได้เกิดปรากฏการณ์วัยรุ่นต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น การตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจการยุติการตั้งครรภ์
ก่อนคลอด (ทำแท้ง) การติดเชื้อเอชไอวีเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่างๆ ซึ่งสถิติจากการวิจัยของหน่วยงานต่างๆ ก็บอกไว้อย่างเป็นที่ประจักษ์
แล้ว

            นอกจากนี้ ปัจจุบันความล้ำหน้าของเทคโนโลยี ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็น
“ของจำเป็น” สำหรับคนในยุคนี้ ที่แต่ละคนต้องมีใช้ โดยเฉพาะวัยรุ่นที่มีการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้มากขึ้น มีการส่งคลิปวิดีโอให้กัน โหลดริงโทนรอสาย
โทรศัพท์ เป็นต้น

            ดังนั้น ความพยายามของกรมควบคุมโรคครั้งนี้ จึงถือได้ว่า เป็นความพยายามในการใช้สื่อไร้สายที่วัยรุ่นเข้าถึงในปัจจุบันมาเป็น “เครื่องมือ”
และ “ช่องทาง” ในการสื่อสารและทำความเข้าใจกับวัยรุ่นในเรื่องเอดส์ และเพศศึกษา อย่างรู้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง และสภาพความเป็นจริง
ของวิถีชีวิตทางเพศของวัยรุ่นในปัจจุบัน

มุมหนึ่ง เรื่องประเด็นและเนื้อหาในการประกวด

            สำหรับประเด็นในการประกวดนี้ ทางกรมควบคุมโรค ได้กำหนดประเด็นสำหรับการประกวดไว้หลักๆ คือ “การป้องกันและลดพฤติกรรมเสี่ยง
ต่อการติดเชื้อเอดส์” โดยมีหัวใจหลักอยู่ 3 ประเด็นคือ รักนวลสงวนตัว รักเดียวใจเดียว และการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

            สำหรับประเด็นหลักใหญ่คิดว่า เป็นหัวใจสำคัญและเป็นเป้าหมายที่มีทิศทางในตัว คือ การป้องกันและลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี
เอดส์ แต่ทว่าในประเด็นปลีกย่อย มีมุมที่ต้องแลกเปลี่ยนกันอีกมาก

            ในเรื่องการรักนวลสงวนตัว นั้นในความเข้าใจของสังคม ดูเหมือนจะเป็น “คำ” ที่พยายามจะสื่อไปยัง “ผู้หญิง” ว่า ผู้หญิงต้องรักนวลสงวนตัว
ไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน ทว่าในความเป็นจริงแล้ว ประเด็นนี้ดูจะเป็นการสื่อสารที่ตีตราผู้หญิงที่มีมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานว่าไม่รักนวลสงวนตัว
และคงจะไม่ทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก
เพราะปัจจุบันเด็กวัยรุ่นต่างมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ในวัยที่น้อยลงเรื่อยๆ และที่สำคัญ การรักนวล-
สงวนตัวนั้น ไม่ได้เป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้ลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีเอดส์

            บางครั้งแล้วการที่ฝ่ายหญิงเป็นรักนวลสงวนตัวแต่สังคมไม่ได้สื่อสารกับผู้ชายให้รักนวลสงวนตัว        จนในที่สุดนที่มีเพศสัมพันธ์ตามขนบ-
ธรรมเนียมประเพณีของไทย และมีเพศสัมพันธ์หลังแต่งงานกับสามีของตน แต่ต้องได้รับเชื้อในที่สุด  เรื่องการรักนวลสงวนตัวจึงเป็นการตีตราผู้หญิง
มากเกินไป

            หรือแม้แต่เรื่องการรักเดียวใจเดียว ซึ่งถือว่า เป็น “คำ” อีกหนึ่งคำ ที่ไม่ได้ลดเงื่อนไขที่ทำให้มีการติดเชื้อเอชไอวีเอดส์น้อยลง เพราะหลายคู่
ที่ใช้ชีวิตร่วมกัน    และมีเพศสัมพันธ์กันหลังแต่งงาน ซึ่งบางคู่ก่อนที่มีเพศสัมพันธ์ต่างฝ่ายก็ไม่รู้ “ประวัติการมีเพศสัมพันธ์” ของคู่ตัวเอง     ว่าเคย
มีโอกาสเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอดส์มากน้อยเพียงใด หรือหากมีการตรวจเลือดก่อนแต่งงาน บางคนก็ตรวจผิดประเภท หรือ บางคนที่มีเชื้อเอชไอวีเอดส์
แต่กลับตรวจไม่พบ เพราะเชื้ออาจจะยังไม่ปรากฏอาการก็ได้ การรักเดียวใจเดียวจึง เป็นการบอกให้คนมีเพศสัมพันธ์กับคู่ของตนเท่านั้น

            แต่ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้พร้อมกับประสบการณ์ของกลุ่มเยาวชนในหลายพื้นที่ในภาคเหนือและภาคต่างๆ พบว่า การสื่อสารการป้องกันเอดส์จากการ
รักนวลสงวนตัว และการรักเดียวใจเดียวนั้น ไม่ได้เป็น “ทางเลือก” ที่จะทำให้ป้องกันเอดส์ได้เลยแม้แต่น้อย เพราะแท้จริงแล้ว “ต้นทาง” ของการรับเชื้อ
เอชไอวีเอดส์เข้าสู่ร่างกายเกิดจาก   “การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันกับคนที่มีเชื้อเอชไอวีเอดส์ ซึ่งดูไม่ออกจากภายนอก”      และการสั่งห้าม  หรือ
รักเดียวใจเดียว ก็ไม่ได้ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ลดลง แต่กลับเพิ่มขึ้นๆ ทุกปี

            ดังนั้น การสื่อสารด้วย “คำ” 2 คำนี้ จึงดูจะไม่ใช่เงื่อนไขสำคัญเลยแม้แต่น้อยที่จะทำให้เอดส์ลดลง     และยังสอดคล้องกับคำประกาศล่าสุดตอน
ปิดงานเอดส์โลก ที่เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา เมื่อเดือนกลางเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา        โดยคุณ Stephen Lewis ซึ่งเป็นฑูตพิเศษด้านเอดส์
ในอาฟริกาขององค์การสหประชาชาติ ที่ว่า “โครงการที่เน้นให้ละเว้นการมีเพศสัมพันธ์อย่างเดียวนั้นไม่ได้ผลเลย ความแข็งกร้าวของแนวทางนี้ถือได้ว่า
ใช้ไม่ได้ผลเลยกับสถานการณ์ของมนุษย์เรา”

            ท้ายที่สุดแล้ว ผมมองว่า การกำหนดประเด็น รักนวลสงวนตัว และ รักเดียวใจเดียว ไว้ในการประกวดนี้ จึงไม่เหมาะสมและสอดคล้อง กับวิถี
ทางเพศ ที่เปลี่ยนแปลงไปของวัยรุ่นสมัยนี้เลยแม้แต่น้อย ด้วยเหตุเหล่านี้ผมจึงขอเสนอเลยว่า เลือกแค่ประเด็น “การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มี
เพศสัมพันธ์” ก็พอครับ

แล้วจะเดินไปอย่างไรเมื่อเป็นเช่นนี้?

            ในมุมมอง 2 เรื่องหลักนี้ ผมมองว่า หน่วยงานภาครัฐ คือ กรมควบคุมโรค มีความปรารถนาดีต่อการป้องกันและแก้ไขเอชไอวีเอดส์ในกลุ่มวัยรุ่น
และได้ทำงาน “เชิงรุก” ที่จะสื่อสารเรื่องเอดส์ เพศศึกษากับกลุ่มวัยรุ่น โดยใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีที่มีความเปลี่ยนแปลง ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
ในโลก ปัจจุบันสื่อสารไปสู่วัยรุ่นระดับ “ปัจเจก” ได้อย่างทันสมัย

            ทว่า “เนื้อหา” ที่ต้องการจะสื่อกลับไม่ทันสมัยตามความเปลี่ยนแปลงของวิถีเพศที่หลากหลายของวัยรุ่น แต่อย่างไรก็ตาม หากมองในแง่ดีแล้ว
การกำหนดเนื้อหา 3 ประเด็นนี้ขึ้นมา ก็ถือเป็นการให้ “ทางเลือกในการลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ” สำหรับวัยรุ่นที่ต้องการข้อมูล ข่าวสารเรื่องเอดส์
และเพศศึกษาที่รอบด้านและจะนำไปสู่การคิด วิเคราะห์ ไตร่ตรอง และกำหนดเงื่อนไขในการป้องกันเอดส์ของตน ตามสิทธิและศักดิ์ศรีของความ
เป็นมนุษย์

            ทั้งนี้ ในอีกด้านที่สำคัญ ผมว่า หากเรายังใช้คำว่า “รักนวลสงวนตัว” และ “รักเดียวใจเดียว” ในการสื่อสารเรื่องเอดส์และเพศศึกษากับวัยรุ่นอยู่
ก็จะเป็นการ “ตอกย้ำ” และ “ผลิตซ้ำ” ความเชื่อผิดที่ว่าหนทางนี้จะสามารถป้องกันเอดส์ได้   เป็นไปได้ไหมว่า จะใช้ “คำ” อื่นแทน 2 คำนี้ เช่น
“มีเพศสัมพันธ์เมื่อพร้อม” “มีเพศสัมพันธ์ที่รับผิดชอบ” ซึ่งจะสามารถส่งความหมายนี้ไปสู่ ทั้งชายและหญิง ได้อย่างเท่าเทียมกัน

            เพราะเมื่อโลกมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงมากขึ้น – รัฐ ก็เห็นช่องทางนี้ และเมื่อโลกวัยรุ่นมีวิถีทางเพศที่เปลี่ยนไปมากขึ้น –
รัฐก็ต้องเห็นความสำคัญและตามให้ทันว่าจะสื่อสารเรื่องเอดส์ เพศศึกษาอย่างไรที่ “โดนจุด” กับวัยรุ่นยุคปัจจุบัน (ไม่ใช่ทำเหมือน 20 ปีที่ผ่านมา ที่คนไทยเริ่มรู้จักเอดส์)


“ตัวชี้วัด” ความร่วมมือของผู้ใหญ่กับวัยรุ่น

            นอกจากนี้ กรมควบคุมโรค อาจต้องให้วัยรุ่น หรือเยาวชนที่ทำงานด้านเอดส์ เช่น เครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ ประเทศไทย, เครือข่ายเยาวชน
V – Teen, หรือกลุ่มเยาวชนต่างๆ เข้ามามี “ส่วนร่วม” ในการคิดและดำเนินการกิจกรรมที่ได้คิดมานี้ ให้สามารถสอดคล้องกับบทเรียนหรือประสบการณ์
ของเยาวชน วัยรุ่นที่ทำงานด้านเอดส์และพบบทเรียน รูปธรรมต่างๆ อีกมากมาย – เรื่องนี้กรมควบคุมโรค โดยสำนักงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้ควรให้ความ
สำคัญอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

            ผมเชื่อว่าเยาวชน พร้อมจะทำงานร่วมกับผู้ใหญ่ ภาครัฐ ด้วยใจจริงที่เปี่ยมล้นด้วยพลังที่อยากทำเพื่อสังคมและเพื่อนเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
และลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีเอดส์

            ความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐกับเยาวชน “ก่อน” จะคิด หรือทำอะไรกับเยาวชนสำคัญอย่างยิ่ง และไม่ควรละเลยที่จะคำนึงถึง
หากภาครัฐหวังดีต่อเยาวชน วัยรุ่น ด้วยความจริงใจ   ความร่วมมือครั้งนี้ จะเป็น “ตัวชี้วัด” ได้ดีว่า ภาครัฐ เห็นความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของวัยรุ่น
มากน้อยเพียงใด            


งานที่มอบหมาย

ให้นักเรียนจับกลุ่ม เริ่มต้นด้วยการอ่านข่าว/ บทความ  จากนั้นตอบคำถามข้างล่างนี้
บอกประเด็นสำคัญ 5 ประเด็นในบทความนี้
ในความเห็นของผู้เขียน  อะไรคือจุดอ่อนของการรณรงค์ป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวีด้วยวิธีการสนับสนุนให้รักนวลสงวนตัว
     หรือวิธีการละเว้นการมีเพศสัมพันธ์  ให้บอกมา 2 เหตุผล
เหตุผลที่ผู้เขียนบทความมองว่าการรณรงค์ให้รักเดียวใจเดียวหรือซื่อสัตย์ต่อคู่ครอง ไม่ช่วยลดการติดเชื้อเอชไอวี ได้แก่อะไรบ้าง
คำอื่นที่ผู้เขียนต้องการให้ใช้แทนคำว่า “รักนวลสงวนตัว” “รักเดียวใจเดียว” ได้แก่คำว่าอะไรบ้าง   ให้นักเรียนอธิบายว่า คำใหม่ดีกว่าคำเก่าอย่างไร
การมีส่วนร่วมของเยาวชนที่ทำงานด้านเอดส์ในการกำหนดกิจกรรมและนโยบายต่างๆ ของภาครัฐที่จะมีผลต่อตัวเยาวชนเอง มีข้อดีอย่างไร
    ในความเห็นของนักเรียน  กรุณาให้เหตุผลประกอบ
โปรดเขียนคำตอบลงในกระดาษเพื่อนำเสนอหน้าชั้นต่อไป

                                                                                                                                                                                                                             




การวิจัย-วิเคราะห์เนื้อหา

            นักเรียนในแต่ละกลุ่มควรนั่งอ่านบทความด้วยกัน  หากเป็นไปได้ นักเรียนทุกๆ คนควรมีบทความอยู่ในมือ  ให้เวลาอ่านประมาณ 10 นาที
และเวลาในการอภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นอีก 10-15 นาที   ในแต่ละบทความ นอกเหนือไปจาก (1) การให้นักเรียนในกลุ่มสรุปและนำเสนอ
ประเด็นสำคัญ 5 ประเด็น และ (2) ครูมีคำถามเชิงวิเคราะห์จากบทความ 2 คำถามให้นักเรียนในกลุ่มตอบแล้ว ครูควรที่จะ (3) ให้นักเรียน
เตรียมคำถามประมาณ 4-5 คำถามสำหรับถามเพื่อนๆ ในชั้นด้วย   

            การที่นักเรียนต้องเป็นคนตั้งคำถามเอง จะช่วยให้พวกเขาเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการอธิบายด้วยวิธีนี้เป็นวิธีที่ดีมากที่จะช่วย
ให้เด็กซึมซับข้อมูลจากบทความได้ดียิ่งขึ้น

การนำเสนอ

ให้แต่ละกลุ่มเลือกเพื่อน 2 คนมาเป็นผู้นำเสนอ (สรุปประเด็นสำคัญ ตั้งคำถาม และตอบคำถาม)   คนแรกอาจกล่าวถึงที่มาของข่าว/ บทความ
(นำมาจากหนังสือพิมพ์หรือแหล่งข้อมูลใด)   จากนั้นให้สรุปประเด็นสำคัญๆ ให้ครอบคลุม 5 W กับ 1 H (who, what, when, where, why, how)
ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด ทำไม และอย่างไร   เมื่อจบ นักเรียนคนที่สอง ก็ทวนคำถามที่ได้รับจากครู 2 คำถามแล้วตอบให้เพื่อนๆ ฟัง 
ท้ายสุด นักเรียนทั้งสองคนก็ถามคำถามที่เตรียมมากับเพื่อนๆ ในชั้น 

 

 

 

www.youthaids.org
Type in HIV/AIDS in Google and you will find thousands of interesting websites, even if you type in 'AIDS in Uganda'. The Youth AIDS site, however, is an official and very good site.

www.yaids.org/network/uganda/
The Youth AIDS Uganda website has been especially designed for you by your peers.

tv.oneworld.net
Watch and respond to stories from people with HIV/AIDS.

vanderbilt.edu/news
Sing for Life, videos of Ugandan women singing songs they use in their community to talk about AIDS.

http://www.globalchange.com
Good page about myths and misconceptions.