0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14




      หลังจากที่บทที่ 9  ได้อธิบายเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยทั่วๆ ไปแล้ว   บทนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ เอชไอวี / เอดส์ โดยเฉพาะ  ด้วยเหตุที่เอดส์เป็นโรคร้ายแรงและมีผลกระทบด้านลบทั้งในระดับตัวบุคคลและระดับสังคมอย่างมาก   บทเรียนที่ 10 นี้จะเริ่มต้นด้วยการ
ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัว เอชไอวี/ เอดส์   หลังจากนั้น นักเรียนจะได้ฟังบทสัมภาษณ์ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก เอชไอวี/ เอดส์
(เช่น คนในครอบครัว ผู้ที่กำพร้าเพราะพ่อแม่เสียชีวิตจากเอดส์ เป็นต้น)   และจะได้ทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อพิจารณาหาหนทางที่คนหนุ่มสาว
อย่างพวกเราจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหา ป้องกันปัญหานี้   หรืออาจเลือกทำงานเดี่ยว นั่นคือ การทำโปสการ์ดให้กำลังใจผู้ติดเชื้อและผู้ที่ได้รับ
ผลกระทบจาก เอชไอวี/ เอดส์
      
      นอกจากนี้ ในท้ายบทยังมีแบบฝึกหัดให้เลือกทำ 3 อย่างด้วยกัน อันได้แก่
พานักเรียนไปที่คลีนิค/ สถานพยาบาล เพื่อรับฟังการบรรยาย หรือเชิญวิทยากรมาให้ข้อมูลก็ได้
ใช้กิจกรรมตัวจริงเสียงจริง โดยให้ฟังจากตัวผู้ติดเชื้อเองหรือจากผู้มีประสบการณ์ตรงซึ่งได้ผลกระทบจากเอดส์ (อาจเป็นคนในครอบครัว เพื่อนสนิท      เพื่อนบ้าน ลูกกำพร้า ฯลฯ)  หรืออาจไปยังสถานที่ที่ให้การดูแลผู้ติดเชื้อก็ได้ 
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ  เอชไอวี/ เอดส์ จากหนังสือพิมพ์ แผ่นพับ เอกสารเผยแพร่ต่างๆ หรือวารสาร/ นิตยสารด้านสุขภาพ




จุดมุ่งหมาย

ได้ทราบข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ เอชไอวี/ เอดส์  รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับการติดเชื้อและผลกระทบของโรคต่อร่างกายและต่อสังคม
นักเรียนเชื่อในปรากฏการณ์การแพร่ระบาดของโรคที่เกิดขึ้นจริง และตระหนักว่าร้ายแรงเพียงใด
นักเรียนได้รับการสนับสนุนให้ไปตรวจเลือด หากจำเป็น
นักเรียนมีความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจต่อผู้ติดเชื้อและผู้รับผลกระทบจาก เอชไอวี/ เอดส์  




วัตถุประสงค์การเรียนรู้

ความรู้

นักเรียนสามารถอธิบายได้เกี่ยวกับการมีผลตรวจเลือดบวก  การตรวจหาเชื้อ เอชไอวี  ช่วงไม่ปรากฎอาการ (the window period)        ความแตกต่างระหว่าง HIV กับ AIDS  การถูกตีตรา/ แปะป้ายด้านลบ (Stigma)   และอธิบายได้ว่า ไวรัสทำลายระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอย่างไร
ระบุของเหลวในร่างกาย  4  อย่างที่เชื้อ เอชไอวี  สามารถอาศัยและมีชีวิตอยู่ได้
ระบุวิธีการ 3 วิธีที่เชื้อ HIV จะเข้าสู่ร่างกายได้ และปรับแก้ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการแพร่เชื้อให้ถูกต้อง
สามารถระบุพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยแยกเป็นพฤติกรรมเสี่ยงมาก 4 อย่าง และพฤติกรรมเสี่ยงน้อย 2 อย่าง
ระบุโรค 2 โรคที่ผู้ติดเชื้อ HIV มักจะเป็น
อธิบายความแตกต่างระหว่างการรักษาให้หาย (cure) กับการบำบัดเยียวยา (treatment)   และมีความตระหนักว่า HIV/ AIDS ยังไม่มีทางรักษา
     ให้หายขาด
อธิบายได้ว่า กว่าเชื้อ HIV จะแสดงอาการของโรคเอดส์ อาจจะใช้เวลาเป็นเดือนๆ หรือถึง 10 ปี  แต่ระหว่างนั้น ก็ยังสามารถแพร่เชื้อได้ตลอดเวลา
อธิบายได้ว่าหากผู้ติดเชื้อดำเนินชีวิตอย่างถูกสุขอนามัย สามารถจะทำให้โรคปรากฏอาการช้าลงได้
อธิบายได้ว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการข่มขืนเพิ่มอัตราการเสี่ยงอย่างไรต่อการติดเชื้อเอชไอวี
อธิบายว่ายาต้านไวรัส ลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูก
อธิบายได้ว่าการตรวจเลือดเป็นวิธีเดียวที่จะดูว่าคนนั้นติดเชื้อ HIV หรือไม่
อธิบายได้ว่าการตรวจเลือดทำอย่างไร และการตรวจนั้นเป็นความลับ รวมทั้งสามารถระบุได้ว่าจะไปตรวจและขอคำปรึกษาได้ที่ไหน
ระบุผลกระทบ  2  ประการ ที่จะเกิดกับผู้ติดเชื้อหากไม่ได้รับการดูแลอย่างดี หรือหากถูกตีตราจากสังคมรอบข้าง       รวมทั้งระบุว่าท่านสามารถจะทำอะไรให้ผู้ติดเชื้อได้บ้าง  2  อย่าง
อธิบายได้ว่าจะหาข้อมูลได้จากที่ใด รวมไปถึงระบุได้ว่าที่ไหนที่จะสามารถจะได้รับคำแนะนำบริการที่เกี่ยวกับการป้องกัน การตรวจหาเชื้อ      และการดูแลและการบำบัดเยียวยา
อธิบายบทบาทของรัฐ ขององค์กรพัฒนาเอกชนและของชุมชน ในการป้องกันและต่อสู้กับเอดส์

ทัศนคติ

นักเรียนตระหนักถึงบทบาทของตนในการป้องกัน เอชไอวี / เอดส์ และการเข้ามีส่วนร่วมในการต่อสู้กับโรคเอดส์
มีความเข้าใจและเห็นใจต่อผู้ติดเชื้อ  ยืนยันและรับรองในสิทธิที่ควรจะได้ของผู้ติดเชื้อในการที่จะได้รับการสนับสนุนและการดูแลด้านสุขภาพ       รวมทั้งมีแรงจูงใจที่จะช่วยเหลือคนกลุ่มนี้
ให้ความสำคัญในการไปสถานพยาบาลที่ตรวจหาเชื้อ เอชไอวี เมื่อจำเป็น

ทักษะ

สามารถอธิบายได้อย่างละเอียดว่า จะให้ข้อมูลคนอื่นๆ และจะสนับสนุนพวกเขาเหล่านั้นให้ป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อได้อย่างไร
สามารถอธิบายทีละขั้นตอนในการป้องกันการติดเชื้อ
สามารถเสนอแผนที่ปฏิบัติได้จริงในการช่วยเหลือ/ สนับสนุนผู้ติดเชื้อ และรณรงค์เพื่อพวกเขาภายในชุมชน

ทางเลือก

      นักเรียนแสดงให้เห็นว่า ตนเองสามารถวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อพิจารณาทางเลือกได้อย่างถูกต้อง

คอมพิวเตอร์

นำเสนอตัวเองต่อผู้อื่น – ทำและส่งโปสการ์ดเกี่ยวกับ HIV/ AIDS
เลือกตัวแทนกลุ่มที่จะเขียน/ พูดแทนพวกเขา
คิดคำ/ ข้อความที่สั้น กระชับ แต่มีพลัง
ทำโปสการ์ดโดยใช้ Internet
ใช้ Word Art ในการออกแบบ
ทำโปสการ์ดโดยตัด / แปะ จากวัสดุสิ่งพิมพ์ต่างๆ หรือโดยการวาดหรือระบายสีได้
เลือกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ HIV/ AIDS จากหนังสือพิมพ์และสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ