

ครูอาจแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 6 กลุ่ม ในแต่ละทางเลือกจะมีนักเรียนอยู่ 2 กลุ่มที่ทำกิจกรรมนั้นๆ จากนั้น
ค่อยให้นักเรียนมารายงานในการเข้าชั้นเรียนครั้งต่อไป 
ครูสามารถมอบหมายให้ทำเป็นการบ้านได้

หากสามารถพาไปได้จะเป็นประโยชน์ยิ่งต่อนักเรียน เนื่องจากมีข้อค้นพบจากงานวิจัยแล้วว่า วิธีนี้เป็นหนทางที่มีประสิทธิภาพ
สูงสุดในการช่วยให้เยาวชนระมัดระวังและมีชีวิตทางเพศที่ปลอดภัย 

การเชิญวิทยากรมาคุยให้ฟังหรือไปพบวิทยากรนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นวิชาการมากหรือใช้เวลานานเกินไป แต่เน้นการทำให้นักเรียน
รู้สึกอุ่นใจว่า หากตนเองมีปัญหาเรื่องนี้ พวกเขาจะได้รับการต้อนรับอย่างเป็นมิตรในสถานที่นั้นๆ การพาไปพบวิทยากร อาจจะทำหลังจาก 
บทที่ 7 ก็ได้
นักเรียนอาจจะอัดเทปได้ แต่ให้สรุปส่งครูเป็นรายงานสั้นๆ 

(ดูเอกสารประกอบ)
การหาประเด็นสำคัญในข่าว/ บทความ วิเคราะห์เนื้อหาและสรุปประเด็นสำคัญเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง สิ่งสำคัญคือ หลังจากวิเคราะห์คุณค่า
ของเขียนข่าว/ บทความแล้ว นักเรียนอาจเขียนข่าวขึ้นมาใหม่ หากพบว่าเนื้อหา คำ หรือข้อความบางส่วน อาจสร้างภาพลบให้แก่ผู้ติดเชื้อ 
จุดมุ่งหมาย
เพื่อให้นักเรียนประเมินคุณค่าของข้อมูลได้
เพื่อให้ลงมือแก้ปัญหาจริงได้
เพื่อให้ตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหา และจำนวนคนที่ได้รับผลกระทบจาก HIV/ AIDS
วิธีการ
ให้พิจารณาบทความในหนังสือพิมพ์ หรือใน internet บทความอาจครอบคลุมประเด็นดังต่อไปนี้
ข้อมูลเกี่ยวกับ เอชไอวี ในไทย (หรือประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
การแพร่เชื้อและการป้องกัน
อาการของโรค
ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของ HIV/ AIDS
มาตรการของรัฐบาล องค์กรเอกชน หรือชุมชนที่จะต่อสู้ HIV/ AIDS

กิจกรรมนี้อาจให้ทำในห้องสมุดของโรงเรียนและให้เป็นการบ้านสำหรับทำนอกเวลาเรียน และแบ่งเป็นการบ้าน 2 ครั้ง เช่น ครั้งแรก 
เป็นการหาข่าว/ บทความจากห้องสมุดหรือจาก internet มาส่งครู ครูตรวจสอบว่าใช้ได้หรือไม่ แล้วมอบหมายให้นักเรียนในกลุ่ม 
ไปอภิปรายกันนอกเวลาเรียน ส่วนครั้งที่ 2 เป็นการบ้านให้ไปเตรียมการนำเสนอหน้าชั้นเรียน และเตรียมตั้งคำถามสำหรับถามเพื่อนๆ 

ครูเริ่มโดยการชี้ให้เห็นว่ามีบทความ/ เรื่องเกี่ยวกับ HIV/ AIDS มากมายในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ หลายชิ้นเป็นจดหมายจากผู้อ่านถึงบรรณาธิการ
บางชิ้นเป็นบทความ บางชิ้นเป็นคำบอกเล่าจากตัวผู้ติดเชื้อเอง 
อธิบายข้อแตกต่างของข้อเขียนแต่ละประเภทที่ได้จากหนังสือพิมพ์และสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ เช่น (ก) ข่าวซึ่งเขียนโดยนักข่าวในประเด็นปัญหาเอดส์ 
ระดับภูมิภาค ระดับชาติ หรือระดับท้องถิ่น (ข) คอลัมน์แสดงความคิดเห็น ซึ่งเขียนโดยนักหนังสือพิมพ์หรือคอลัมนิสต์และ (3) จดหมายถึงบรรณาธิการ 

ถ้าห้องคอมพิวเตอร์ใช้ internet ได้ ให้หาข้อมูลดูจากในนั้น หรืออาจหาข้อมูลจากเวบไซต์ของหนังสือพิมพ์ต่างๆ โดยให้นักเรียนใช้เวลา
10 15 นาทีในการหาข้อมูล พิจารณาบทความให้เข้าข่ายประเด็นที่ครูกำหนด จากนั้นให้นำมาส่งให้ครูตรวจสอบ
ครูอ่านบทความ แล้วตั้งคำถามเชิงวิพากษ์ 2 คำถามก่อนส่งกลับไปให้นักเรียนนำไปคิดต่อ 

ครูอาจเตรียมหนังสือพิมพ์รายวันฉบับย้อนหลัง หรือบอกรายชื่อนิตยสารด้านสุขภาพ หรือจดหมายข่าวขององค์กรที่ทำงานด้านนี้
เพื่อให้นักเรียนไปค้นคว้าได้ง่ายขึ้น เป็นต้น 

แบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน มอบหมายให้แต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกันในการวิจัย-วิเคราะห์ข่าว/ บทความจากสื่อสิ่งพิมพ์เหล่านั้น

กิจกรรมนี้อาจยากไปสำหรับผู้ที่มีอายุน้อย ครูอาจพิจารณาเตรียมหาบทความ ข่าว ให้นักเรียนเลยก็ได้

นักเรียนนำเสนอหน้าชั้นพร้อมกับตั้งคำถามและอภิปรายกับเพื่อนๆ ขณะที่แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงาน คนอื่นๆ จะต้องรับฟัง จดบันทึก
และต้องแลกเปลี่ยนให้ความเห็น (ดูคำแนะนำ) 
|