t
k
0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14




กิจกรรม   (95 นาที)

กิจกรรมที่ 1   (5 นาที)
ทบทวน

กิจกรรมที่  2   (5 นาที)
อุ่นเครื่อง : ดนตรีของฉัน

กิจกรรมที่ 2         (40 นาที) 
 เพศและความรัก ? : การนำเสนอ

กิจกรรมที่ 3         (40 นาที)
ทำสตอรี่บอร์ด (เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง)

กิจกรรมที่ 4         (5 นาที)
สรุปและการบ้าน

 



ให้พูดคุยเกี่ยวกับกิจกรรม ทบทวน จากบทเรียนคราวที่แล้ว





จุดมุ่งหมาย

            เพื่อแบ่งปันข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับตัวเอง เพื่อเริ่มบทเรียน

วิธีการ

ให้ทุกคนนั่งหรือยืนเป็นวงกลม และบอกว่า ตัวเองชอบดนตรีแบบไหนและทำไม  อาจให้นักเรียนบางคนร้องเพลงที่ชอบก็ได้

 





จุดมุ่งหมาย

ให้รู้ความหมายของวิถีชีวิตด้านเพศ และบทบาทของสิ่งนี้ต่อชีวิตของเขา
ให้รู้จักคิดวิธีการ/ รูปแบบต่างๆ ที่จะมีความสุขกับเพื่อนชาย/ เพื่อนหญิงได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่ (ร่วมเพศ)

วิธีการ

           ให้ดูสไลด์การนำเสนอ โปรดดูเครื่องมือ กับเพื่อนนักเรียนที่นั่งคู่กัน  เนื้อหาภายในสไลด์จะมีประเด็นที่นักเรียน ต้องแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นของกันและกัน ซึ่งควรทำก่อนที่จะคลิกไปที่สไลด์ถัดไป   ตอนท้ายของการนำเสนอ (สไลด์ที่ 31-36) จะมีแบบทดสอบ “เธอพร้อมหรือยัง”
- R U Ready ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนวิเคราะห์ตนเองและมองเห็นชัดเจนว่า ตัวเองพร้อมหรือไม่ที่จะมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่  อาจารย์ควรตัดสินใจว่า
จะให้นักเรียนแต่ละคนทำแบบทดสอบนี้ในกระดาษ/ สมุด หรือแค่คิดตามขณะดูสไลด์

           การนำเสนอครอบคลุมเนื้อหาดังต่อไปนี้

                     วิถีชีวิตด้านเพศ (sexuality) คืออะไร  เพศ (sex) คืออะไร  และความรู้สึกทางเพศเป็นอย่างไร
                     ระดับความใกล้ชิดสนิทสนม (intimacy) ของพฤติกรรมทางเพศรูปแบบต่างๆ
                     ความหมายของความสัมพันธ์ที่มีพื้นฐานมาจากความรัก
                     เพศสัมพันธ์ที่ดีคืออะไร
                     มายาคติ/ ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับเรื่องเพศ
                     ของกำนัลและความสัมพันธ์
                     พรหมจรรย์ (virginity)
                     ข้ออ้างที่คนหนุ่มสาวมักใช้เพื่อที่จะโน้มน้าว/ ชักจูง/ กดดันให้อีกฝ่ายหนึ่งมีเพศสัมพันธ์ด้วย
                     แบบทดสอบ “เธอพร้อมหรือยัง”
                     การตัดสินใจเป็นของคุณเอง

 



(เลือกทำรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง)

รูปแบบที่ 1   ทำสตอรี่บอร์ดโดยใช้กล้อง (40 นาที)

จุดมุ่งหมาย

นักเรียนได้ฝึกฝนและมีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับคนอื่นหรือเพื่อนต่างเพศ  หากเป็นไปได้ ให้อภิปรายในประเด็นต่างๆ และตัดสินใจว่า
     สถานการณ์ที่เกี่ยวกับเรื่องวิถีชีวิตทางเพศควรจะดำเนินไปอย่างไร
สามารถทำสตอรี่บอร์ดด้วยภาพถ่ายของตนเอง

วิธีการ



       อธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า สตอรี่บอร์ดคืออะไร (โปรดดูเครื่องมือ)
  ใช้ตัวอย่างเพื่ออธิบาย (ดูตัวอย่าง)



       แบ่งนักเรียนเป็น 4 กลุ่ม และให้เรื่องกับแต่ละกลุ่ม



       บอกแต่ละกลุ่มว่า ต้องจัดทำสตอรี่บอร์ด โดยแสดงบทบาทเป็นคนในเรื่องตามประเด็นหลักที่ได้รับ  
       อาจารย์อธิบายให้ฟังถึงขั้นตอนในการทำสตอรี่บอร์ด

         หากนักเรียนค่อนข้างอายในการถ่ายภาพ  ให้เตือนว่า นี่เป็นเพียงการแสดง เหมือนกับที่เขาแสดงละครกันเท่านั้น

         นักเรียนควร “โหลด” รูปถ่ายลงในคอมพิวเตอร์หลังจากถ่ายเสร็จแล้ว  ให้บันทึกลงใน file ต่างหาก เพื่อจะได้ไม่ปะปนกัน

         แทรกรูปทั้ง 6 รูปลงใน file MS Word ที่เตรียมไว้  ควรเพิ่มบทพูดและคำอธิบายภาพสำหรับประเด็น/ กรอบที่ 5 และ 6 (โปรดดูเครื่องมือ)

          ควรเตรียม file ทั้งหมดก่อนที่จะเข้าบทเรียน เพื่อจะได้ประหยัดเวลาในการเตรียมและนักเรียนจะได้มีเวลามากขึ้นในการทำกิจกรรมนี้
อาจารย์อาจพิมพ์ความหมายของ storyboard คำแนะนำในการทำ  และตัวอย่างออกมา และแจกให้แก่นักเรียนได้ศึกษาก่อน


         นำเสนอและอภิปรายกลุ่ม :  ทั้ง 4 กลุ่มกลับมารวมตัวกันเพื่อดูสตอรี่บอร์ดทั้งหมด  ตั้งคำถามกับแต่ละกลุ่มว่าทำประเด็นใด และให้เล่าว่า
ระหว่างทำงานอภิปรายร่วมกันในกลุ่ม พวกเขาได้ค้นพบหรือได้เรียนรู้อะไรในกระบวนการ  หากเป็นไปได้ ควรให้เวลากับทุกกลุ่ม



         นักเรียนอาจเลือกรูปที่ตนชอบที่สุดเพื่อนำเสนอในอินเตอร์เน็ทต่อไป (Online presentation)

 


รูปแบบที่ 2   ทำสตอรี่บอร์ดบนกระดาษ  (40 นาที)

จุดมุ่งหมาย

       เพื่อให้สามารถร่วมทำงานกับเพื่อน (เพศตรงข้าม)  ถกเถียงกันในประเด็นต่างๆ และตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตด้านเพศ

วิธีการ



       แบ่งนักเรียนเป็น 4 กลุ่ม และให้เค้าโครงเรื่องที่เริ่มต้นไว้ให้ (สตอรี่บอร์ด)



       ให้นักเรียนวิเคราะห์จากภาพว่า มีอะไรเกิดขึ้น ใครพูดว่าอะไร และเรื่องจบอย่างไร โดยให้เติมบทสนทนาในช่องต่างๆ ตามที่คิดว่าเป็นเรื่องจริง
และตัวเองจะตัดสินอย่างไร

         ให้นักเรียนคุยกันให้นานพอก่อนจะเติมบทสนทนา  นักเรียนไม่ควรเติมในสิ่งที่ตนคิดว่า ถูกหรือควรเป็นอย่างนั้น
พยายามกระตุ้นให้คิดถึงสถานการณ์จริงของคนหนุ่มสาว 
        ให้ครูดูคำแนะนำประกอบ (ดูเครื่องมือ)



        การนำเสนอและอภิปราย:
       กลุ่มรวมตัวกันเพื่อดูเรื่องต่างๆ ให้แต่ละกลุ่มระบุว่ากำลังพิจารณาประเด็นอะไร เรียนรู้อะไรบ้างระหว่างการอภิปรายถกเถียงกันหากมีเวลา
ควรให้กลุ่มอื่นๆ ได้มีโอกาสเสนอความเห็นหรือซักถามด้วย  ทั้งหมดอาจร่วมกันพิจารณาว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับบทที่เพิ่มมา อะไรควรเป็น
ทางออกที่เหมาะสมสำหรับแต่ละปัญหา/ สถานการณ์



จุดมุ่งหมาย

          สรุปบทเรียน  ทบทวนให้นักเรียนฟังว่า วันนี้เราได้เรียนรู้เรื่องอะไรไปบ้าง

การบ้าน

         บอกให้นักเรียนพยายามคิดถึงเหตุการณ์จริงๆ ซึ่งพวกเขาสามารถที่จะนำ (ก) ทักษะการต่อรอง (ข) ทักษะการปฏิเสธ และ (ค)
การยืนกรานในจุดยืนของตนเอง/ การเป็นตัวของตัวเอง (assertiveness) ไปใช้ได้จริง  นักเรียนควรเลือก 1 สถานการณ์สำหรับแต่ละทักษะข้างต้น   

         นอกจากนี้ ในสมุดบันทึก นักเรียนอาจจะคิดว่า ถ้าต้องให้คำแนะนำแก่เพื่อนคนอื่นๆ ในเรื่องการประยุกต์ใช้ทักษะเหล่านี้
เขาจะเขียนคำแนะนำอย่างไร