0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14




(1 คาบเรียน /  90  นาที )

กิจกรรมที่ 1   (5 นาที)
ทบทวน  ให้พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ได้จากบทเรียนคราวที่แล้ว

กิจกรรมที่  2   (5 นาที)
เกมการทักทาย

กิจกรรมที่ 3    (15 นาที)
 Ego Booster.

กิจกรรมที่  4   (30 นาที)
อารมณ์ไหนเนี่ย? – การนำเสนอ

กิจกรรมที่  5   (30 นาที)
การแสดงบทบาทสมมุติ

กิจกรรมที่  6   (5 นาที)
สรุปและการบ้าน

 




เป้าหมาย

ให้พูดคุยเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆและสิ่งที่ได้เรียนรู้ จากบทเรียนคราวที่แล้ว





จุดมุ่งหมาย

ให้มีการเคลื่อนไหว และมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างสนุกสนาน

วิธีการ

ให้อธิบายการทักทายที่แตกต่างกัน และกำหนดผู้นำขึ้นมาหนึ่งคน ให้คนอื่นๆ เดินไปมารอบๆ ในบริเวณนั้น โดยผู้นำเกม ไม่ต้องร่วมเล่นเกมด้วย
ให้คนอื่นๆ เดินไปมาในลักษณะของการวิ่งเหยาะๆ ขณะที่ผู้นำเกมจะพูดว่า “รวมกลุ่ม รวมกลุ่ม” ตลอดเวลา และในทันทีที่ผู้นำกลุ่มพูดว่า “จับคู่”
และบอกรูปแบบการทักทาย ทุกคนจะทักทายบุคคลที่อยู่ด้วยในขณะนั้นอย่างเหมาะสม ด้วยรูปแบบการทักทายที่ผู้นำได้พูดขึ้น ให้เล่นเกมซ้ำๆ
จนกระทั่งทุกคนได้ฝึกทักทายทุกแบบ

การทักทายที่  1   คือ        “ทักทายเพื่อนสนิท”
การทักทายที่  2   คือ        “ทักทายคุณแม่หรือคุณพ่อ”
การทักทายที่  3   คือ        “ทักทายคนแปลกหน้า/ พระภิกษุ”
การทักทายที่  4   คือ        “ทักทายแฟน

 






จุดมุ่งหมาย

ทุกคนจะได้รับการย้ำเตือนว่า ทุกคนมีคุณลักษณะที่ดี
ทุกคนมุ่งสนใจในส่วนที่ดีของพวกเขา
ทุกคนรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถ/ มีพลังจากภายใน

วิธีการ



           นั่งเป็นวงกลมให้แต่ละคนนำกระดาษมาหนึ่งแผ่นและเขียนชื่อของตนไว้บนหัวกระดาษ



           ส่งกระดาษไปรอบๆ เมื่อแต่ละคนได้รับกระดาษให้เขียนสิ่งดีๆ เกี่ยวกับคนผู้นั้นลงที่ด้านท้ายแผ่น แล้วพับกระดาษจากด้านล่าง
ขึ้นไปปิดข้อความที่เขียน หลังจากนั้น ให้ส่งต่อไปยังคนอื่นๆ
เมื่อเขียนครบทุกคนแล้ว กระดาษแผ่นนั้นก็จะกลับไปยังเจ้าของ



           ในที่สุด ทุกคนก็ได้รับกระดาษของตนกลับมาพร้อมทั้งรายการสิ่งดีๆ เกี่ยวกับตนเอง



           ให้ตัวแทน 2-3 คน บอกสิ่งดีๆ ในกระดาษของตนให้กลุ่มได้รับทราบร่วมกัน

 


จุดมุ่งหมาย

ทุกคนได้รู้จักเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการมีอารมณ์แปรปรวน การเพิ่มความรับผิดชอบ สิทธิ และความสำคัญของเพื่อนๆ รุ่นเดียวกัน
รวมทั้งการได้รับคำแนะนำและข้อคิดเกี่ยวกับวิธีจัดการกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
บอกได้ว่า ความรู้สึกของตนเองนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการเจริญเติบโตในช่วงนี้ และรับทราบว่า เพื่อนๆ
รุ่นเดียวกันก็เป็นเช่นกัน

วิธีการ

       ให้แต่ละคน หรือจับคู่ก็ได้  อ่านคำถามในเรื่องที่นำเสนอ โดยคำถามไม่ได้มุ่งให้เป็นข้อสอบด้านความรู้
แต่จะช่วยให้สามารถบ่งชี้สิ่งที่กำลังจัดการอยู่ในขณะนี้    (โปรดดูเครื่องมือ)




ุดมุ่งหมาย

สามารถแสดงบทบาทสมมติในสถานการณ์ที่กำหนดให้
รู้จักคำต่างๆ ที่บรรยายถึงความรู้สึกสับสน และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
มีประสบการณ์ว่ารู้สึกอย่างไรที่จะพูดเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว
ได้เรียนรู้โดยดูว่าผู้อื่นจัดการกับสถานการณ์ที่ยากลำบากได้อย่างไร

วิธีการ



           แบ่งออกเป็น 4 หรือ 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มได้รับเรื่องที่จะแสดงบทบาทสมมติ (โปรดอ่านเนื้อเรื่องย่อในเครื่องมือ)  
          ให้นักเรียนใช้เวลา 10 นาที เพื่อ   :
            อ่านรายละเอียดภูมิหลังเกี่ยวกับตัวแสดง และสถานการณ์
            แบ่งบทบาทกัน
            เขียนบทต่อ : คิดว่าต่อไปสถานะการณ์ควรเป็นอย่างไรและตัวละครจะใช้คำพูดอย่างไร



           ให้กลุ่มต่างๆ แสดงบทบาทสมมติหน้าชั้น  โดยใช้เวลาแสดงสักครู่จนจบ



           พิจารณาจากเวลาที่มีอยู่ว่า จะให้แสดงบทบาทสมมติกี่กลุ่ม ให้กลุ่มที่เหลือดูการแสดง และเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับทางเลือก
ที่ตัวละครตัดสินใจเลือก รวมทั้งสิ่งที่พูดกันในการแสดงด้วย อาจใช้คำถามที่เสนอไว้นี้ ช่วยในการอภิปราย ถึงการแสดงแต่ละครั้ง ดังนี้ :

            คิดว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร?
            พวกเขาตอบสนองกันอย่างไร?
            พวกเขาจะพัฒนาการตอบสนองต่อเพื่อนร่วมทีมให้ดีขึ้นได้อย่างไร?
            พวกเขาจะอธิบายสถานการณ์ได้อย่างไร?
            พวกเขาควรจะทำ หรือ พูด ให้แตกต่างออกไปอย่างไร?

 

 

                  ให้กลุ่มแสดงข้อคิดเห็นทั่วไปเกี่ยวกับบทเรียน และสิ่งที่ได้เรียนรู้

การบ้าน

         บอกทุกคนให้ทราบถึงกิจกรรมที่ให้ทำที่บ้านสำหรับสัปดาห์หน้าคือ : ให้มองหาสถานการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับบทเรียนนี้ และเขียนสิ่งที่พบเจอ
ใน 2-3 วันข้างหน้า มาเป็นตัวอย่างสัก 3 ข้อ ในเรื่องที่ตนเอง หรือเพื่อนรุ่นเดียวกันประสบปัญหาในการเป็นวัยรุ่น