0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14




(1 คาบเรียน /  85  นาที )

กิจกรรมที่  (20 นาที)
บทนำ : การสร้างความคุ้นเคย, หลักสูตร,กฎกติกาพื้นฐาน, การสร้างความคาดหวัง

กิจกรรมที่  (20 นาที)
เกมส์บุคลิกภาพ

กิจกรรมที่  (30 นาที)
 การสร้างภาพตัวเองหรือสัญลักษณ์เฉพาะตัว
(เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง – ทำในกระดาษ หรือทำในคอมพิวเตอร์)

กิจกรรมที่  (15 นาที)
การนำเสนอ, สมุดทบทวนและแสดงความเห็น (Reflection Books), สรุปผล และการบ้าน

 


จุดมุ่งหมาย

ให้ทุกคนได้ทราบว่าทำไมเขาจึงมาอยู่ที่นี่ เหตุผลก็เพื่อให้ทุกคนได้สัมผัสถึงการได้รับการยอมรับและให้ทุกคนยอมรับเกี่ยวกับ
กฎระเบียบพื้นฐานของบทเรียนชุดนี้ และเพื่อให้ทราบสิ่งที่ทุกคนคาดหวังและสิ่งที่สามารถคาดหวังได้จากบทเรียนชุดนี้ โดยให้ทุกคน
แนะนำตัวซึ่งกันและกันและเริ่มต้นด้วยการสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการสื่อสารอย่างปลอดภัย  และเปิดเผยตรงไปตรงมา

วิธีการ



แสดงโครงสร้างคร่าวๆ  เกี่ยวกับสิ่งที่ทุกคนต้องทำและการเรียนรู้ตลอดหลักสูตร บอกทุกคนให้ทราบเกี่ยวกับภูมิหลัง การทำงาน
และแรงจูงใจของคุณสักเล็กน้อย หรือหากรู้สึกสบายใจคุณอาจจะตัดสินใจเล่าประสบการณ์ในชีวิตช่วงวัยเจริญพันธุ์ หรือการรับรู้
เรื่องเพศศึกษาก็ได้




ขอให้ทุกคนแนะนำตัวเอง โดยบอกชื่อ ที่อยู่ อายุ แรงจูงใจในการเรียนบทเรียนชุดนี้ รวมทั้งความคาดหวังด้วยถ้าทุกคนรู้จักกัน
ดีอยู่แล้วก็อาจจะขอให้บอกข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม ยกตัวอย่างเช่น อาหารโปรด  ดนตรี หรืองานอดิเรก ให้บอกสิ่งที่ได้ทำในช่วงปิดเทอม
หรือบอกสิ่งที่ทำให้พวกเขารู้สึกว่าตนเองเป็นคนพิเศษ


การวางแผนที่ดีวิธีหนึ่งคือแจกก้านไม้ขีดไฟให้ทุกคน โดยจุดก้านไม้ขีดและให้พูดกันในระหว่างที่ไม้ขีดไฟยังไหม้อยู่ เมื่อไม้ขีดไฟ
มอดดับลงเวลาแห่งการสนทนาก็จะหมดลงเช่นเดียวกัน  วิธีนี้นอกจากจะทำให้ได้รับความสนุกแล้วยังสามารถบริหารเวลาในการทำ
แบบฝึกหัดด้วย หากทุกคนเริ่มสร้างคำตอบซ้ำๆ  ขึ้น ในรอบต่อๆ มา ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม  หรือในกรณีที่คนใดคนหนึ่งเกิดอายขึ้นมา
ครูก็สามารถเข้าไปช่วยเหลือด้วยการถามคำถามที่แตกต่างออกไปหรือถามต่อจากคำถามเดิม ยกตัวอย่างเช่น เรื่องเกี่ยวกับ สิ่งที่พวกเขา
คาดหวังที่จะเรียนรู้ได้


ในกรณีที่มีเวลามากพอ ให้ทุกคนจับคู่และสัมภาษณ์กัน (3 นาทีต่อคน)  หลังจากนั้น ให้แต่ละคนออกมาพูดเกี่ยวกับเรื่องของคู่
ของตนเองโดยใช้เวลา 2 นาที  วิธีนี้ก็อาจจะเป็นวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่งที่จะเริ่มต้นแต่อาจจะใช้เวลานานกว่าวิธีแรก



ขอให้ทุกคนอ่านรายละเอียดของ “กฎระเบียบพื้นฐาน” (Ground Rules) (โปรดดูเครื่องมือ)สำหรับการทำงานด้วยกันในบทเรียนชุดนี้ 
ทุกคนสามารถที่จะเปิดรายละเอียดของกฎเหล่านั้น ด้วยตนเองและอ่านให้ฟังก็ได้
 หลังจากนั้นให้ทุกคนลงคะแนนเสียงว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธกฎแต่ละข้อ สามารถเสนอกฎ ซึ่งคิดว่ามีความสำคัญเพิ่มเติม
และให้ทุกคนภายในกลุ่มที่สำคัญที่สุดก็คือลงคะแนนได้ด้วยกฎทุกข้อของ“กฎระเบียบพื้นฐาน” (Ground Rules) นั้นจะต้องได้รับ
การยอมรับโดยสมาชิกทุกคนของกลุ่ม



แต่งตั้ง หรือวิธีอื่นที่ดีกว่า : ให้เสนอชื่อผู้ทำหน้าที่จับเวลา , ผู้นำกิจกรรม หรือตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ เป็นต้น หรืออาจจัดให้มี
ตัวแทนที่ได้รับความไว้วางใจ(เพศชาย หรือเพศหญิงก็ได้) ซึ่งจะเป็นคนที่พูดเกี่ยวกับความต้องการของแต่ละคนในกลุ่ม.



สรุปโดยการบอกให้ทุกคนทราบว่า ทุกคนต้องเรียนรู้ด้วยกัน โดยที่ทุกคนจะสัมผัสได้ถึงความเป็นกันเอง และอยู่บนความเชื่อ
ที่ว่าทุกๆ ความคิดเห็นล้วนแต่เป็นสิ่งที่มีค่าที่ทุกคนต้องเคารพซึ่งกันและกัน และนั่นจะทำให้ทุกคนรู้สึกสนุกสนานในที่สุด





จุดมุ่งหมาย

ทุกคนจะถูกย้ำเตือนว่าแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะตัวไม่เหมือนกัน รวมทั้งมีบุคลิกภาพที่เฉพาะเจาะจง
ทุกคนเรียนรู้ที่จะพูดอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับตัวเอง
ความตั้งใจของทุกคนจะถูกมุ่งเน้นไปที่ตัวเองและบุคลิกภาพของตัวเอง

วิธีการ

ทุกคนจะใช้เวลาสักระยะหนึ่งเพียงคนเดียวในการเล่นเกมส์บุคลิกภาพนี้ (โปรดดูเครื่องมือ)
เกมส์บุคลิกภาพสามารถที่จะเลือกใช้ได้ทั้งในโปรแกรม Word และบนกระดาษ (โปรดดูตัวอย่าง)
โปรดอ่าน คำชี้แจงสำหรับเกมบุคลิกภาพ

ทางเลือก


ในการเล่นเกมบุคลิกภาพ (กรณีไม่มีหรือไม่ใช้คอมพิวเตอร์)  ให้ใช้ เกมส์ส่งกระดาษ แทน

เกมส์ส่งกระดาษ

ให้แต่ละคนส่งแผ่นกระดาษที่เขียนชื่อของตนเองที่เห็นได้ชัดเจนไว้บนหัวกระดาษเพื่อส่งต่อให้เพื่อน 5 คน โดยที่คนแรกที่ได้
รับกระดาษจะต้องเขียนคำชมเชยเกี่ยวกับบุคคลที่ชื่อปรากฏอยู่บนหัวกระดาษไว้ด้านล่างกระดาษมาอย่างน้อย 1-2 ประโยค หลังจาก
เขียนเสร็จแล้วให้พับกระดาษขึ้นเพื่อไม่ให้คนถัดไปเห็นรายละเอียดที่เขียนลงไป จากนั้นจึงส่งต่อ(เวียน)ไปยังเพื่อนในกลุ่มที่เหลือ
จนครบทั้งหมด 5 คนทำตามวิธีนี้เหมือนกันทุกคน (1 คนจะต้องได้รับคำชมเชยจากเพื่อนจนครบ 5 คน)

ในตอนท้าย คนที่เขียนลำดับที่ 5 หรือคนสุดท้ายของกระดาษแต่ละชิ้นสามารถที่จะเปิดกระดาษออกมาดูรายละเอียดได้ และ
ส่งคืนเจ้าของกระดาษที่มีชื่ออยู่ด้านบน ซึ่งจะพบข้อดี 5 ประการซึ่งมาจากความคิดเห็นจากเพื่อนๆในกลุ่มซึ่งเป็นวิธีอย่างหนึ่ง ในการ
กระตุ้น“ความภูมิใจ”ในตัวเองให้แสดงออกมา

ทุกคนจะเขียนมุมมองในด้านบวกเกี่ยวกับคนที่มีชื่อปรากฏอยู่บนกระดาษ ซึ่งพวกเขาสามารถที่จะเขียนได้ แม้ว่าจะยังไม่รู้จัก
กันดีพอมันจะดีสำหรับทุกคนที่จะได้รับคำชมจากเพื่อนๆ ในกลุ่มเพราะมันจะสร้างบรรยากาศที่ดีและมอบโอกาสให้ทุกคนรู้สึกถึงการ
ได้รับการยอมรับนอกจากนั้น ยังสามารถทำ กิจกรรมอย่างนี้ในระหว่างที่กำลังทำงานในเกมส์บุคลิกภาพ หรือขณะรอที่จะทำงาน
ด้วยคอมพิวเตอร์ก็ได้







รูปแบบที่ 1   สร้างภาพตัวเอง บนกระดาษ (30 นาที)

จุดมุ่งหมาย

ทุกคนสามารถสร้างสัญลักษณ์ (โลโก้) ของตัวเองด้วยวิธีง่ายๆ
ทุกคนสามารถใส่คำที่บรรยายถึงตัวเองรวมไว้ในรูปภาพ
    แบบฝึกหัดนี้ได้รับการออกแบบสำหรับผู้ที่มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาก่อนและสำหรับชั้นเรียนที่ไม่มีคอมพิวเตอร์
    นอกจากนี้แบบฝึกหัดนี้ยังเป็นทางเลือกที่ดีเมื่อไม่มีไฟฟ้าใช้ด้วย

วิธีการ



           แจกกระดาษ/ปากกา/ดินสอ หรือปากกาหลากสีสำหรับทุกคน เพื่อให้ทุกคนวาดภาพ หรือเขียนสิ่งซึ่งสามารถบรรยายบอกถึงตัวเอง
ได้ดีหรืออาจจะใช้คำศัพท์จากเกมส์บุคลิกภาพที่ทำไปก่อนหน้านี้ก็ได้



           ทุกคนจะวาดรูปภาพสิ่งซึ่งสามารถบรรยาย บอกถึงตัวเองได้ดี หรืออาจจะใช้คำศัพท์ สัญลักษณ์ ต่างๆ ที่คิดว่าเหมาะสม และสามารถ
อธิบายได้

รูปแบบที่ 2   สร้างภาพตัวเอง บนคอมพิวเตอร์ (30 นาที)                 

จุดมุ่งหมาย
สามารถสร้างรูปภาพของตัวเองด้วยวิธีง่ายๆ
สามารถที่จะรวบรวมคำศัพท์ต่างๆ ซึ่งอธิบายถึงตัวเองได้ดีที่สุด และสื่อออกมาได้เป็นรูปภาพ
สามารถสร้างรูปภาพรูปแรกบนคอมพิวเตอร์โดยใช้เครื่องมือแบบง่ายๆ      
    แบบฝึกหัดนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการจะเรียนเกี่ยวกับวิธีการใช้เมาท์

วิธีการ




           อธิบายถึงวิธีการใช้ Mini –Steck   



           สามารถที่จะสร้างรูปภาพใน Mini –Steck โดยการใช้สีที่โปรดปรานและสีอื่นๆ ผสมผสานไปด้วย



           จากนั้นสามารถใส่คำศัพท์หรือบุคลิกลักษณะที่มาจากเกมส์บุคลิกภาพ



            ถ้าเป็นไปได้ ให้บันทึกภาพของตนเองไว้ในคอมพิวเตอร์หรือใน server   

 


จุดมุ่งหมาย

ให้รู้ว่าทุกคนล้วนมีความแตกต่างกันและมีความพิเศษในตัวเองที่เท่าเทียมกันทุกคน

วิธีการ



           ให้ทุกคนมารวมกลุ่มกันและดูรูปภาพ หรือภาพสัญลักษณ์ที่ได้จัดทำสัก 2-3 ภาพ พยายามเลือก พร้อมให้แสดงผลงานของพวกเขา
           พูดคุยเกี่ยวกับความแตกต่างของมนุษย์ และแสดงให้เห็นด้วยการใช้ลักษณะบุคลิกภาพและ รูปภาพของตัวเองโดยกล่าวว่า
มนุษย์ทุกคนมีคุณค่าที่เท่าเทียมกัน ให้อธิบายว่าทุกครั้งที่พวกเราพูดถึงตัวเอง ในคำพูดเหล่านั้นจะมีข้อเท็จจริงและทัศนคติ
แทรกอยู่ ยกตัวอย่างในกรณีความจริง เช่น ฉันมี ดวงตาสีน้ำตาลและผมหยักศก ข้อเท็จจริงเหล่านี้สามารถทดสอบและพิสูจน์ได้
ส่วนในด้านทัศนคติ เช่น ฉันเป็นคนสนุกสนาน หรือฉันเป็นคนที่ชอบทำให้คนอื่นบันเทิงใจ  ซึ่งทัศนคติเหล่านี้อาจแตกต่างหลากหลาย
ไปตามคนแต่ละคน ไม่สามารถทดสอบหรือพิสูจน์และไม่มีถูกหรือผิด



           อธิบายวิธีการใช้สมุดแสดงความคิดเห็น (Reflection Books) ตลอดระยะเวลาของบทเรียนนี้ (ดู reflect ข้างล่าง)และให้ทุกคน
ทำแบบฝึกหัดแสดงความคิดเห็น (Reflection Exercise) เป็นการบ้านหรือในช่วงเวลาว่างของพวกเขา



            ขออาสาสมัครเพื่อที่จะแลกเปลี่ยนในสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้มาในบทเรียนนี้หรือให้พวกเขาช่วยบอกในสิ่งที่พวกเขาชอบ
และไม่ชอบเกี่ยวกับบทเรียนนี้

ร้องเพลง (ทางเลือก)

จุดมุ่งหมาย

นักเรียนรู้สึกถึงการมีพลังอำนาจจากภายใน โดยที่เนื้อหาของเพลงจะช่วยให้พวกเขามองตัวเองว่าเป็นบุคคลที่มีลักษณะพิเศษ
     ไม่มีใครเหมือนตอนท้ายบท คุณอาจให้เปิดเพลงให้ทุกคนฟังพร้อมๆกัน (ดูเครื่องมือ)




สมุดทบทวนและแสดงความคิดเห็นจะทำหน้าที่เสมือนบันทึกประจำวันหรือไดอารี่ส่วนตัวตอนท้ายของแต่ละบทเรียน นักเรียน
จะได้รับโจทย์หรือบางสิ่งบางอย่างให้นำกลับไปคิดต่อ  พวกเขาจะต้องบันทึกเรื่องราว เหตุการณ์ หรืออะไรก็ตามที่แวบขึ้นมาในความคิด
ที่พวกเขาพบเจอในช่วงระยะเวลาหลายวัน และคิดว่ามีความเกี่ยวข้องกันกับบทเรียน         ฉะนั้น นักเรียนแต่ละคนจึงควรมีสมุดจด
ของตนเองสำหรับหลักสูตร “โลกหมุนได้ด้วยมือฉัน” โดยเฉพาะ   เป้าหมายก็เพื่อที่จะช่วยให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้
ในห้อง กับ สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน

การบ้าน

ให้นักเรียนใช้เวลาหลายวันนั่งคิดทบทวนว่า ค่านิยม/ คุณค่าทางสังคม เรื่องใดบ้างที่มีความสำคัญหรือมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวัน
ของเขาแล้วให้จดบันทึกลงในสมุดของตนเองด้วยว่า พวกเขามาตระหนักว่า ค่านิยม/ คุณค่าทางสังคม นั้นๆ สำคัญต่อเขาเมื่อใด / เมื่อ
เจอสถานการณ์อะไร