0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14




กิจกรรม  (95 นาที)

กิจกรรมที่ 1   (5 นาที)
ทบทวน  

กิจกรรมที่  2   (5 นาที)
อุ่นเครื่อง - คิดคำจากชื่อ 

กิจกรรมที่  3  (40 นาที)                  

 การตั้งครรภ์ : ประเด็นสำหรับสาวๆ และหนุ่มๆ 

กิจกรรมที่  4  (40 นาที) 
กิจกรรมกลุ่มที่  1   บทบาทสมมติ
กิจกรรมกลุ่มที่  2   คิดคำขวัญ

กิจกรรมที่   5  (5 นาที)
สรุปและการบ้าน

 






ถามนักเรียนบางคนถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทเรียนคราวที่แล้ว (เนื้อหา กิจกรรม ประเด็นสำคัญ)




จุดมุ่งหมาย

              นอกเหนือไปจากความสนุกสนานแล้ว ยังทำให้มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและต่อกันและกันด้วย

วิธีการ

ให้นักเรียนยืนเป็นวงกลม ให้แต่ละคนคิดศัพท์ที่อธิบายถึงคุณลักษณะด้านดีต่างๆ ซึ่งมีพยัญชนะดัวแรกเป็นตัวเดียวกับชื่อของตน เช่น
หากชื่อ “นันทิยา” ศัพท์ที่คิดขึ้นใหม่อาจจะเป็น “น่ารัก”
ใช้เวลาคนละ 1 นาที และหมุนเวียนกันทีละคน เช่น มานะ – มารยาทงาม อนุสรณ์ - อัธยาศัยดี  มะลิวัลย์ - มีน้ำใจ

 






จุดมุ่งหมาย

              นักเรียนคุ้นเคยกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และประเด็นอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกับการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

วิธีการ

              จับคู่กันอ่านข้อมูลในเรื่องที่นำเสนอในสไลด์  (โปรดดูเครื่องมือ)
              การนำเสนอจะมีประเด็นให้อภิปรายกัน ซึ่งจะต้องคุยกันก่อนจะคลิกเปลี่ยนไปอ่านสไลด์ต่อไป   หลังจากนักเรียนดูการนำเสนอสไลด์ชุดนี้
จบลงแล้ว นักเรียนสามารถทำแบบทดสอบเรื่องการตั้งครรภ์ (Pregnancy Quiz) หรือเปิดดูหนังเกี่ยวกับการปฏิสนธิและการมีประจำเดือน
(อยู่ในเครื่องมือ – fertilization movie และ menstruation movie)
              เรื่องที่นำเสนอครอบคลุมหัวข้อดังต่อไปนี้

เราตั้งครรภ์ได้อย่างไร
สัญญาณและอาการของการตั้งครรภ์
ความกดดันต่างๆหากเกิดตั้งครรภ์ขึ้นมา
ข้อเสียเปรียบทางสรีระและทางสังคม เมื่อตั้งครรภ์ขณะที่อายุน้อยและยังเป็นโสด
วิธีการคุมกำเนิด : การใช้และประสิทธิภาพ ประโยชน์ และข้อจำกัด
ความเข้าใจผิดๆ หรือมายาคติ (myths) เกี่ยวกับการตั้งครรภ์
ทางเลือกหากตั้งครรภ์เมื่อไม่พร้อม และข้อดี-ข้อเสียของแต่ละทางเลือก
การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย
              โปรดระลึกว่า การนำเสนอนี้สนับสนุนให้ทุกคน (ไม่ว่าจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง) มีพฤติกรรมที่รับผิดชอบ

พูดคุยข้อแนะนำ

              คุยกับนักเรียนถึงการนำเสนอในเรื่องการตั้งครรภ์ การคุมกำเนิด การทำแท้ง และการเลี้ยงดูแลลูก รวมทั้งสอบถามความเห็นหลังจาก
ทำแบบทดสอบ ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์   อธิบายให้นักเรียนทราบว่าจะสามารถตรวจการตั้งครรภ์ได้จากที่ใดบ้าง และจะหาความช่วยเหลือ
ได้จากแหล่งใดในกรณีที่ตั้งครรภ์



              ประเด็นสำคัญ คือ เด็กผู้ชายจะต้องรู้สึกว่าตนเองมีส่วนรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์  ขณะเดียวกัน
ก็ไม่ควรทำให้พวกเขารู้สึกว่า กำลังถูกตำหนิ   เนื่องจากมีเด็กผู้ชายหลายๆ คนที่มีความรับผิดชอบ และบางกรณี ตัวเด็กผู้หญิงเองก็เป็นฝ่ายประมาท
หรือเป็นฝ่ายที่ต้องการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย





จุดมุ่งหมาย

เพื่อให้ฝึกพูดคุยประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
นักเรียนเข้าใจและสามารถย่อยข้อมูล/ ประเด็นสำคัญจากการนำเสนอได้
ให้ความเห็นในมิติต่างๆ ของการตั้งครรภ์ และทางเลือกสำหรับวัยรุ่นในกรณีที่ตั้งครรภ์

วิธีการ



              ใช้สถานการณ์ทั้ง 4 ในการแสดงบทบาทสมมติ   ประเด็นของแต่ละเรื่อง คือ
      1. คู่หนุ่มสาวครู่หนึ่งถามตัวเองว่า ควรใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการท้องไม่พร้อมหรือไม่
      2. เด็กผู้หญิงคนหนึ่งพบว่าตัวเองตั้งครรภ์ และไปพูดคุยปรึกษากับน้า
      3. เด็กผู้หญิงที่มีลูกแล้วอยากกลับไปเรียนต่อ
      4. เด็กผู้ชายต้องเผชิญกับความรับผิดชอบและทางเลือกหลายๆทางที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเขา
            แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม แจกสถานการณ์ให้แต่ละกลุ่มแตกต่างกันไป (ดูเนื้อเรื่องที่ใช้)  ให้เวลา 10 นาทีในอ่าน ทำความเข้าใจเรื่องราว
และเตรียมการแสดงบทบาทสมมติ



              แต่ละกลุ่มแสดงบทบาทสมมติให้เพื่อนๆ ดู   การแสดงนั้นควรดำเนินไปจนถึงจุดที่มีข้อสรุป  อาจารย์ควรดูเรื่องเวลาให้ดี
เพี่อให้ทุกกลุ่มได้รับโอกาสเท่าๆกัน    เมื่อแสดงแต่ละเรื่องจบแล้ว เปิดให้นักเรียนอภิปรายและให้ความเห็นเกี่ยวกับทางเลือกต่างๆ
ที่แต่ละกลุ่มได้นำเสนอ



              ในการอภิปราย ควรใช้แนวทางคำถามดังต่อไปนี้   (คำถาม how and why?)

นักเรียนคิดอย่างไรกับสถานการณ์ต่างๆ ในบทบาทสมมติเรื่องที่เพิ่งดูจบไป
การต่อรองของตัวละครเป็นอย่างไร (ดี/ ไม่ดี อย่างไร)
วิธีการหรือการแสดงออกอื่นๆ ที่จะทำให้ตัวละครต่อรองได้ดีขึ้น ควรเป็นอย่างไร?
นักเรียนคิดอย่างไรกับบทสนทนาที่ตัวละครตอบโต้กัน?
ถ้าเป็นตัวเราบ้าง นักเรียนจะเลือกใช้คำพูดอย่างไรหรือหยิบยกเหตุผลอะไรมาอธิบาย?

 



จุดมุ่งหมาย

               การคิดคำขวัญ – สามารถทำลงในคอมพิวเตอร์หรือกระดาษก็ได้

เป้าหมาย

               อธิบายได้ว่าคิดอย่างไรกับการท้องในวัยรุ่น และสิ่งที่นักเรียนเชื่อว่าสำคัญสำหรับวัยนี้

วิธีการ

               ให้เลือกคำขวัญสำหรับจัดพิมพ์หน้าแรกของหนังสือพิมพ์ เพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการท้องในวัยรุ่นและนำเสนอให้กับชุมชน
โดยพิมพ์คำขวัญลงใน MS Word (ใช้ Word Art ทำ - ให้ดูคำอธิบายจากเครื่องมือ)   เลือกใช้แบบอักษร ขนาด และสีต่างๆ ในการทำคำขวัญ
หากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่พอใช้ อาจทำลงในกระดาษ และใช้ดินสอสีต่างๆ แทนการทำใน MS Word ก็ได้



               ให้นักเรียนดูตัวอย่าง ขณะที่อาจารย์อธิบายกิจกรรม



               ในการคิดคำขวัญ นักเรียนควรเลือกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อมที่คิดว่าสำคัญและอธิบายประเด็นดังกล่าวให้ได้
ภายใน 1 ประโยค



               พิมพ์คำขวัญใน MS Word บันทึกลงใน file เขียนชื่อ/ อายุ ใช้แบบอักษรที่เลือก   หากใช้กระดาษและดินสอ ทำเช่นเดียวกัน



               เมื่อคิดคำขวัญเสร็จแล้ว เพื่อนๆ ช่วยกันดูและให้ความเห็น

       คำขวัญเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
       มีคำขวัญ/ ข้อความไหนที่น่าจะมีประสิทธิภาพที่สุดต่อคนอ่าน
       ใครไม่เห็นด้วยกับคำขวัญที่เพื่อนๆช่วยกันทำออกมาหรือไม่  ให้เหตุผล
       นักเรียนคิดว่า เราจะสามารถเสนอคำขวัญเหล่านี้ต่อชุมชนได้ไหม?



               อาจเลือกคำขวัญที่ชอบที่สุด และอัพโหลด ขึ้น  Online ของโรงเรียน  (ดูวิธีการในคู่มือครู)


                                                                      ตัวอย่างการคิดคำขวัญ
 
                 




               สรุปประเด็นสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปในบทนี้  ย้ำเตือนถึงความสำคัญของเรื่องที่ได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นกันในชั้นเรียน

การบ้าน

    ลองหาโอกาสไปเยี่ยมวัยรุ่นที่มีลูก เพื่อดูว่าเขาได้เผชิญกับความยากลำบากอย่างไรตั้งแต่รุ้ว่าตั้งครรภ์
และดูว่าเราจะสามารถช่วยอะไรเขาได้บ้าง