e
0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14




กิจกรรม  (95  นาที)

กิจกรรมที่  1   (5 นาที)
ให้สะท้อนความรู้สึก และทบทวนบทเรียนคราวที่แล้ว

กิจกรรมที่  2   (5 นาที )
อุ่นเครื่อง – กิจกรรมเดิม

กิจกรรมที่  3  (15 นาที)
 เกมส์ – ในครอบครัว ใครรับผิดชอบอะไร?

กิจกรรมที่  4  (30 นาที)
บทบาทหญิงชาย – ดูการนำเสนอ แล้วอภิปรายกลุ่ม

กิจกรรมที่  5  (35 นาที)  ทำชิ้นใดชิ้นหนึ่งเท่านั้น
 งานกลุ่ม  1 - บทบาทหญิงชาย   หรือ
 งานกลุ่ม  2 - หญิงชายคือ...

กิจกรรมที่  6  (5 นาที)
สรุป และการบ้าน

 


ให้พูดคุยเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆและสิ่งที่ได้เรียนรู้ จากบทเรียนคราวที่แล้ว

 




จุดมุ่งหมาย

เพื่อการเริ่มต้นการเรียนอย่างสนุกสนาน 

วิธีการ

ให้หาพื้นที่ที่ทุกคนสามารถเดินได้อย่างอิสระ  และเริ่มออกเดินพร้อมกัน  กำหนดลีลาการเดินให้ปฏิบัติตามเป็นระยะ เช่น

เดินปกติ
เดินแบบนักเลง
เดินแบบสาวสะดิ้ง
เดินแบบคนแก่แบกของหนัก
เดินแบบคนแก่ถือไม้เท้า
เดินแบบคนท้อง

 





จุดมุ่งหมาย

เพื่อให้ตรวจสอบแนวความคิดเกี่ยวกับบทบาทหญิงชาย ด้วยบรรยากาศที่สนุกสนาน

วิธีการ

ให้จับคู่และนั่งเป็นคู่ แล้วดูที่การนำเสนอ “ใครรับผิดชอบอะไรในครอบครัว” (โปรดดูเครื่องมือ) ช่วยกันระบุหน้าที่ต่างๆ ในครอบครัว
และตัดสินว่างานอะไรควรรับผิดชอบโดยฝ่ายหญิง  งานอะไรควรเป็นของฝ่ายชาย   งานแบบไหนควรที่จะรับผิดชอบร่วมกัน 

 


จุดมุ่งหมาย

เพื่อให้รู้จัก และเข้าใจ เรื่องบทบาทหญิงชายมากขึ้น ทั้งความหมาย และประเด็นที่เกี่ยวข้อง (โปรดดูเครื่องมือ)

วิธีการ

           ให้นักเรียนชมการนำเสนอซึ่งมีเนื้อหาที่จะจุดประกายให้นักเรียนอภิปรายร่วมกัน  นักเรียนควรหยุดที่สไลด์ซึ่งมีคำถามชวนให้คิด
แล้วอภิปรายกับเพื่อนเสียก่อนที่จะคลิกไปที่สไลด์ถัดไป

           เนื้อหาในการนำเสนอ จะครอบคลุมประเด็นดังต่อไปนี้

นิยามของบทบาทหญิงชาย
การเป็นผู้นำ
การศึกษา
สถานะของผู้หญิง
ความเท่าเทียมทางเพศ ในประเด็น การทำร้ายภรรยา การให้คุณค่าความบริสุทธิ์

           ให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มเล็กๆ ตลอดบทเรียนนี้  หากเป็นไปได้ แต่ละกลุ่มน่าจะคละทั้งเพศหญิงและเพศชาย

           ไม่จำเป็นต้องจด เพราะวัตถุประสงค์หลัก คือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น



          นักเรียนเปิดอ่านเนื้อหาจากการนำเสนอ (สไลด์) เกี่ยวกับเพศสถานะหรือบทบาทหญิงชาย



           เมื่อถึงสไลด์ที่มีคำถามชวนให้คิด หรือเป็นแบบทดสอบ (คือ ตั้งแต่สไลด์ที่ 21 ซึ่งเป็นแบบทดสอบเรื่องความเสมอภาคทางเพศสถานะ – Gender Equality Quiz) ให้นักเรียนหยุดที่สไลด์นั้นๆก่อน เพื่อคิด อภิปราย แลกเปลี่ยนความเห็นกับเพื่อน และตอบคำถามเหล่านั้น   วัตถุประสงค ์
ของแบบทดสอบนี้ก็เพื่อให้นักเรียนได้อภิปรายและเห็นถึงความแตกต่างในความเห็นของเพื่อนแต่ละคนก่อนที่จะคลิกไปที่สไลด์ถัดไป  นักเรียน
ควรที่จะมีจุดยืนในคำตอบของตนเองมากกว่าจะคล้อยตามเพื่อน

 





(ให้เลือกทำชิ้นใดชิ้นหนึ่ง)


งานกลุ่มชิ้นที่  1      บทบาทหญิงชาย

จุดมุ่งหมาย

นักเรียนสามารถนำเสนอหน้าชั้นเรียนได้ โดยการนำเสนอผ่านคอมพิวเตอร์หรือทำลงบนกระดาษ
นักเรียนสามารถสร้างความกระจ่างชัดในเรื่องที่เกี่ยวกับเพศสถานะหรือบทบาทชายหญิง
แต่ละกลุ่มมีโจทย์บังคับข้างล่าง 2 โจทย์ และโจทย์ที่เลือกจากคำถาม 4 ข้อข้างล่าง

ก. โจทย์บังคับ

           ตั้งชื่อกลุ่มของตัวเอง
           แผนปฏิบัติการ -  แต่ละคนในกลุ่มของเราจะสามารถปฏิบัติการอย่างไรได้เพื่อสร้างความเสมอภาคทางเพศสถานะ

ข. คำถามให้เลือกตอบ 1 ข้อ

          Gender Lifelines  หรือการตระหนักในสถานะทางเพศของตนเอง
          บุคคลที่เป็นต้นแบบ/ บุคคลที่มีชื่อเสียง
          ประเด็นอนามัยเจริญพันธุ์ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องบทบาทชายหญิงหรือเพศสถานะ
          สังคมสามารถทำอะไรในเรื่องบทบาทหญิงชายได้บ้าง

วิธีการ



          นักเรียนเปิดโปรแกรม MS Word และพิมพ์เนื้อหาที่จะนำเสนอ เช่น พิมพ์ชื่อกลุ่มไว้บนหัวเอกสาร   ถ้าอาจารย์มีเวลา อาจสอนให้นักเรียนใช้ Word-art (ให้ดูในเครื่องมือ Create word art tips)  แล้วให้บันทึกไฟล์งานของนักเรียนในคอมพิวเตอร์หรือในดิสเก็ตส์

            การนำเสนออาจทำลงในกระดาษ โดยใช้ปากกาหลากสีแทนก็ได้

           เขียนลงไปว่า สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มสามารถทำอะไรได้บ้างที่จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงบทบาทตามเพศที่สังคมคาดหวัง

          อภิปรายกันภายในกลุ่มตามคำถามที่ได้รับมอบหมาย (หรือเลือกเอง)
          Gender Lifelines  หรือการตระหนักในสถานะทางเพศของตนเอง
          นักเรียนในกลุ่มผลัดกันเล่าถึงประสบการณ์ของตนเองว่า ครั้งแรกที่ตระหนักดีว่าตัวเองเป็นเพศหญิงหรือชายคือเมื่อใด
และพวกเขารู้สึกอย่างไรในขณะนั้น 
          บุคคลที่เป็นต้นแบบ/ บุคคลที่มีชื่อเสียง
          ให้นักเรียนนึกถึงคน 2 ประเภทที่มีอิทธิพลต่อสังคมในการพูดถึงเรื่องบทบาทของหญิงและชาย หรือทำให้คนนึกถึงลักษณะความเป็นชาย
และหญิง  โดยนักเรียนเลือก  
                             บุคคลที่เป็นต้นแบบ/ บุคคลที่มีชื่อเสียง
                             บุคคลที่มีชื่อเสียงอีก 4 คน โดยเลือกผู้ชาย 2 คน และผู้หญิง 2 คน
          ประเด็นอนามัยเจริญพันธุ์ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องบทบาทชายหญิงหรือเพศสถานะ นักเรียนทำรายการ/ บัญชีหางว่าว
ประเด็นทางสังคมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องบทบาทหญิงและชาย เกี่ยวข้องกับสุขภาพทางเพศ และเกี่ยวข้องกับเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์  
ประเด็นนั้นๆ อาจเป็นเรื่องที่นักเรียนคิดว่าเป็นต้นเหตุแห่งปัญหาทางสังคม หรือต้นเหตุที่ทำให้หญิงชายหลายคนประสบความยุ่งยากในชีวิตก็ได้
          สังคมสามารถทำอะไรในเรื่องบทบาทหญิงชายได้บ้าง นักเรียนระดมสมองกันคิดถึงทางออกหรือวิธีการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับ
บทบาทหญิงชายในสังคม



           นำเสนอหน้าชั้นเรียน (เวลาในการนำเสนอ แล้วแต่อาจารย์จะกำหนด) 
          Gender Lifelines  หรือการตระหนักในสถานะทางเพศของตนเอง
          บุคคลที่เป็นต้นแบบ/ บุคคลที่มีชื่อเสียง

 





งานกลุ่มชิ้นที่  2       หญิง ชาย คือ...

จุดมุ่งหมาย

          นักเรียนเรียนรู้ว่า แต่ละเพศถูกสังคมกำหนดให้มีแบบแผนตายตัวและบทบาทเฉพาะแบบหนึ่งๆ (stereotype)
และไม่ใช่ชายและหญิงทุกคนที่รู้สึกสบายใจ/ สะดวกใจ/ พอใจ กับแบบแผนตายตัวนั้นๆ 

          นักเรียนตระหนักว่า ทั้งหญิงและชายอาจรู้สึกไม่แน่ใจเมื่อมีคนคาดหวังที่จะเห็นพฤติกรรมหรือฟังทัศนะบางอย่างจากพวกเขา
เพียงเพราะเขามีเพศเป็นหญิงหรือเป็นชาย

วิธีการ

              แบ่งกลุ่ม  ให้แต่ละกลุ่มระบุแบบแผนตายตัว (เช่น รายละเอียด คุณสมบัติ บทบาท) ที่สังคมคาดหวังจากความเป็นหญิง/ ชาย  ตัวอย่างเช่น

 ผู้ชาย

-  ไม่ร้องไห้
-  มีความต้องการทางเพศสูง
-  รู้ทุกอย่างเรื่องเพศ
-  แข็งแรง
-  ไม่ต้องการความช่วยเหลือ
-  ไม่ดื่ม ไม่เจ๋ง
-   ต้องสูงใหญ่กว่าผู้หญิง

ผู้หญิง

-  ไม่ควรรู้เรื่องเพศ
-  สงบเสงี่ยม  ไม่มีปากมีเสียง
-  ไม่ก้าวร้าว
-  นุ่มนิ่ม เป็นกุลสตรี
-  ไม่ออกปากนัดหมาย สร้างสัมพันธ์กับผู้ชาย
-   สะอาดบริสุทธิ์กว่าผู้ชาย



ไล่ไปในแต่ละหัวข้อว่า
          จริงหรือไม่ที่หญิง(หรือชาย) เป็นแบบนั้น  
          ยกตัวอย่างที่แสดงว่าความเชื่อนั้นๆ ไม่จริงเสมอไป



เลือกผู้แทนกลุ่ม รายงานต่อที่ประชุม

 



              ขอให้ผู้เข้าอบรมสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งวัน

-
              ทางเลือก:  นักเรียนเปิดไปที่เครื่องมือ แล้วเล่นเกมแต่งหน้า (Make Up Game)

การบ้าน

             มอบการบ้าน ให้แต่ละคนเล่าประสบการณ์ ที่ความเป็นหญิง / ชาย ส่งผลในด้านบวก และด้านลบอย่างละ 2 ตัวอย่าง