โครงการ สานใจ (San Jai) ฝึกอาชีพเพื่อฟื้นฟูหญิงในบ้านพักฉุกเฉินที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง
ชื่อโครงการ : โครงการ สานใจ (San Jai) ฝึกอาชีพเพื่อฟื้นฟูหญิงในบ้านพักฉุกเฉินที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง โครงการที่ดำเนินกิจกรรมทางสังคมที่มุ่งมั่นที่จะช่วยให้ผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงมีโอกาสที่จะผลิตและจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมที่ทำด้วยมือที่ไม่ซ้ำกันทำจากวัสดุรีไซเคิล เป็นผลให้พวกเธอเหล่านั้นมีโอกาสที่จะพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพให้มีชีวิตมีคุณค่า มีความหวังและแรงจูงใจในชีวิต สามารถฟื้นฟูเยียวยาจิตใจจากความรุนแรง และยังสามารถเป็นอิสระทางการเงิน
ที่มา/ความสำคัญโครงการ : 4 ใน 10 ของผู้หญิงไทย ถูกทำร้ายร่างกายและถูกกระทำความรุนแรงทางเพศด้วยน้ำมือของบุคคลผู้ใกล้ชิด 1 ใน 2 ของ เหยื่อ ไม่บอกผู้อื่นเลย ถูกปิดเงียบอย่างไร้ร่องรอย (องค์การอนามัยโลก 2005) ความรุนแรงต่อผู้หญิงเป็นปรากฏการณ์ที่มีอย่างแพร่หลายในทุกชนชั้นทางสังคมและเศรษฐกิจขอไทย โดยเฉพาะผู้หญิงยากไร้มีแนวโน้มที่จะตกเป็น เหยื่อ ความรุนแรง เพราะพวกเธอมีทางเลือกน้อยที่จะไปให้พ้นจากสัมพันธภาพที่ประกอบด้วยความรุนแรง
วัตถุประสงค์ : โครงการสานใจ (San Jai) ฝึกอาชีพเพื่อฟื้นฟูหญิงในบ้านพักฉุกเฉินที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง ดำเนินการ โดยมีเป้าหมาย 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนแรก เพื่อให้พวกเธอเอาชนะรอยบาดแผลที่มี และฟื้นฟูให้รู้จักคุณค่าของตนเองได้
ขั้นตอนสอง พวกเธอจะมีอาชีพและสามารถที่จะสร้างรายได้
ขั้นตอนสาม เป้าหมายสูงสุดคือ เราจะผลักดันให้พวกเธอรวมกลุ่มจัดตั้งกิจการเพื่อสังคม ที่จะหารายได้ ซึ่งจะทำให้บุตรได้รับประโยชน์ ส่งผลต่อสังคมในวงกว้าง เพราะผู้หญิงจะใช้จ่าย 90% ของรายได้ไปเพื่อครอบครัว และชุมชน
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้หญิง เด็ก เยาวชน ที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ที่พักอยู่ในบ้านพักฉุกเฉิน ตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 1 ปี
ภารกิจ : เป็นอิสระทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงความรุนแรงในครอบครัว
โดยการสร้างงานหัตถกรรมที่มีคุณค่าและไม่ซ้ำกันผู้หญิงมีความสามารถที่จะฟื้นความภาคภูมิใจในตนเองได้เรียนรู้ทักษะมืออาชีพและบรรลุความเป็นอิสระทางเศรษฐกิจ
ส่งเสริมความรู้ด้านทักษะชีวิต
เปิดตัว : วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558 ณ โรงแรมเรดิสันสวีท สุขุมวิท 13 (เวลา 18:30-20:30)
ผลิตภัณฑ์ : ผลิตภัณฑ์ของโครงการสานใจ (San Jai) คือ
ผลิตภัณฑ์ทำมือ 100% โดยผู้หญิงจาก บ้านพักฉุกเฉิน สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ (APSW)
ผลิตภัณฑ์ความรับผิดชอบต่อสังคมที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล
การออกแบบ สร้างขึ้นโดยนักออกแบบแฟชั่นต่างประเทศที่ให้การสนับสนุน
ประโยชน์ของโครงการ : ผู้เข้ารับการฝึกอบรม และสรรค์สร้างงานหัตถกรรมอันทรงคุณค่า ดังนี้
ระยะสั้น ผู้หญิงที่ได้ผ่านการฝึกอบรม สามารถที่จะเอาชนะรอยบาดแผลที่มี และฟื้นฟูให้รู้จักคุณค่าของตนเองได้
ระยะกลาง ได้รับการฝึกฝนทักษะงานอาชีพและสามารถที่จะสร้างรายได้
ระยะยาว จะสามารถหารายได้ ซึ่งจะทำให้บุตรได้รับประโยชน์ ส่งผลต่อสังคมในวงกว้าง เพราะผู้หญิงจะใช้จ่าย 90% ของรายได้ไปเพื่อครอบครัว และชุมชน (ผลการศึกษาของ Rizzoli, 2007)
เป้าหมายในอนาคต : กิจการเพื่อสังคม เพื่อทำให้ผู้หญิงที่อ่อนแอมีอำนาจทางเศรษฐกิจ |
พื้นที่ในการดำเนินการ : สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ (Association for the Promotion of the Status of Women under the Royal Patronage of HRH Princess Soamsawali -APSW)
ผู้รับผิดชอบโครงการ
- การพัฒนาระหว่างประเทศ, การสร้างศักยภาพสตรี Chlo? Chambraud : chloe@empow-her.fr
- การบริหารแผนกลยุทธ์ Luisa De Simone : luisa@empow-her.fr
- นักออกแบบ แฟชั่น : Sali Sasaki
- TEL: 00662 929-2301-07 training@apsw-thailand.org
- ภาคี : EmpowHer
- ฝ่ายการศึกษาและฝึกอาชีพ สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี ฯ
อีเมลล์ sanjai.apsw@gmail.com หรือ training@apsw-thailand.org
เฟสบุ๊ค San Jai หรือ http://www.facebook.com/SanJaiAPSW
เว็บไซด์ http://www.apsw-thailand.org
สามารถร่วมสนับสนุน โครงการ สร้างอาชีพให้หญิงที่เป็นเหยื่อความรุนแรง ได้ที่ http://taejai.com/projects
เรื่องและภาพ: จิตรา นวลละออง(alexlivfc@hotmail.com)ฝ่ายบริหารโครงการและพัฒนาเยาวชน