พระราชบัญญัติชื่อบุคคล(ฉบับที่ 3) พ.ศ 2548

สาระสำคัญที่ได้รับการแก้ไข

คู่สมรสมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ได้ หรือต่างคนต่างใช้ชื่อนามสกุลของตนซึ่่งสามารถทำได้ เมื่อมีการสมรสหรือในระหว่างสมรส

หญิงที่ใช้นามสกุลของสามีก่อนวันที่ 20 มกราคม 2548 ให้มีสิทธฺใช้ชื่อสกุลของสามีต่อไปได้ แต่ไม่ตัดสิทธิ ที่จะกลับไปใช้ ชื่อสกุลเดิมของตนเมื่อ การสมรสิ้นสุดลง (หย่าหรือศาลพิพากษา) ให้ฝ่ายที่ใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตน

หากการสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตาย ให้ฝ่ายที่มีชีวิตอยู่และใช้ชื่อสกุลของฝ่ายที่เสียชีวิต มีสิทธิใช้ชื่อสกุลนั้นต่อไปได้ และหากจะทำการสมรสใหม่ให้กลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตน

พระราชบัญญัติคำหน้านามหญิง พ.ศ 2551

สาระสำคัญ สรุปได้ด้ังนี้

เป็นกฏหมายที่ให้ทางเลือกกับผู้หญิงที่สมรส ในการเลือกใช้คำนำหน้านามตามความสมัครใจ ซึ่งจะสอดคล้องกับการเลือก ใช้นามสกุล ตามกฏหมายว่าด้วยชื่อบุคคล

หญิงที่อายุ 15 ปีขึ้นไป และยังไม่ได้สมรส ให้ใช้คำนำหน้านามว่า "นางสาว"

หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้วจะใช้คำนำหน้านามว่า "นาง" หรือ"นางสาว" ก็ได้ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียน ตามกฏหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว

หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้ว ต่อมาการสมรสสิ้นสุดลงจะใช้คำนำหน้านามว่า "นาง"หรือ "นางสาว" ก็ได้ ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฏหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติฯ

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 25) พ.ศ 25550

มาตรา 246 (แก้ไขใหม่)

"เมื่อจำเลย สามี ภริยา ญาติของจำเลย พนักงานอัยการ ผู้บัญชาการเรือนจำหรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ จัดการตามหมายจำคุกร้องขอ หรือเมื่อศาลเห็นสมควร ศาลมีอำนาจสั่งให้ทุเลาการบังคับให้จำคุกไว้ก่อน จนกว่าเหตุอันควรทุเลา จะหมดไป ในกรณีต่อไปนี้

  • เมื่อจำเลยวิกลจริต
  • เมื่อเกรงว่าจำเลยจะถึงอันตรายแก่ชีวิตถ้าต้องจำคุก
  • ถ้าจำเลยมีครรภ์
  • ถ้าจำเลยคลอดบุตรแล้วยังไม่ถึงสามปี และจำเลยต้องเลี้ยงดูบุตรนั้น

ในระหว่างทุเลาการบังคับอยู่นั้นศาลจะมีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวอยู่ในความควบคุมในสถานที่อันควร นอกจากเรือนจำหรือ สถานที่ ที่กำหนดไว้ในหมายจำคุกก็ได้ และให้ศาลกำหนดให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการ ตามหมายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่ และรับผิดชอบ ในการดำเนินการตามคำสั่ง

ลักษณะของสถานที่อันควรตามวรรคสองให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฏกระทรวง ซึ่งต้องกำหนดวิธีการควบคุมและบำบัดรักษา ที่เหมาะสมกับสภาพของจำเลย และมาตรการเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นด้วย

เมื่อศาลมีคำสั่งตามวรรคหนึ่งแล้ว หากภายหลังจำเลยไม่ปฏิบัติตามวิธีการหรือมาตรการตามวรรคสามหรือพฤติการณ์ ได้เปลี่ยนแปลงไป ให้ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลง คำสั่งหรือให้ดำเนินการตามหมายจำคุกได้ ให้้หักจำนวนวันที่จำเลยอยู่ในความควบคุมตามมาตรานี้ออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษา"

มาตรา 247 วรรคสอง (ใหม่)

"หญิงใดจะต้องประหารชีวิต ถ้ามีครรภ์อยู่ ให้รอไว้จนพ้นกำหนดสามปีนับแต่คลอดบุตรแล้ว ให้ลดโทษประหารชีวิตลงเหลือ จำคุกตลอดชีวิตเว้นแต่เมื่อบุตร ถึงแก่ความตายก่อนพ้นกำหนดดังกล่าว ในระหว่างสามปีนับแต่คลอดบุตร ให้หญิงนั้นเลี้ยงดูบุตร ตามความเหมาะสมในสถานที่ที่สมควรแก่การเลี้ยงดูบุตรภายในเรือนจำ"

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายอาญา (ฉบับที่ 19)

มาตรา 276 (ใหม่)

ผู้ใดข่มขืนกระทำชเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยผู้อื่นนั้นอยู๋ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้ผู้อื่นั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดพันบาทถึงสี่หมื่นบาท

การกระทำชำเราตามวรรคหนึ่ง หมายความว่าการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำ โดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระท กระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น

ถ้าการกระทำผิดตามวรรคหนึ่งได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกัน อันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง หรือกระทำกับชายในลักษณะเดียวกัน ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำความผิดระหว่างคู่สมรส และคู่สมรสนั้นยังประสงค์จะอยู่กินด้วยกัน ฉันสามีภริยา ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฏหมายที่กฏหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้ หรือจะกำหนดเงื่นไขเพื่อคุมความประพฤติ แทนการลงโทษก็ได้ ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก และคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะอยู่กินด้วยกัน ฉันสามีภริยาต่อไป และประสงค์จะหย่า ให้คู่สมรสฝ่ายนั้นแจ้งให้ศาลทราบ และให้ศาลแจ้งพนักงานอัยการให้ดำเนินการ ฟ้องหย่าให้

มาตรา 277 (ใหม่)

ผู้ใดกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดพันบาทถึงสี่หมื่นบาท

การกระทำชำเราตามวรรคหนึ่ง หมายความว่าการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำ โดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำ กระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรืการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นสีพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสามได้กระทำโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงหรือกระทำกับเด็กชาย ในลักษณะเดียวกันและเด็กนั้นไม่ยินยอม หรือได้กระทำโดยมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิดหรือโดยใช้อาวุธ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต

ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกระทำโดยบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปีกระทeต่อเด็กซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กนั้นยินยอม และภายหลังศาลอนุญาต ให้ทั้งสองฝ่ายสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ ถ้าศาลอนุญาตให้สมรสในระหว่างที่ผู้กระทำผิด กำลังรับโทษในความผิดนั้นอยู่ ให้ศาลปล่อยผู้กระทำความผิดนั้นไป

มาตรา 286 (ใหม่)

ผู้ใดอายุกว่าสิบหกปีดำรงชีพอยู่แม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของผู้ซึ่งค้าประเวณี ต้องระวางโทษจำคุตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่ หนึ่งหมื่นสี่พันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต

ผู้ใดไม่มีปัจจัยอย่างอื่นอันปรากฏสำหรับดำรงชีพ และมีพฤติการอย่างหนึ่งอย่างอย่างใดต่อไปนี้ ให้ถือว่าผู้นั้นดำรงชีพอยู่จากรายได้ ของผู้ซึ่งค้าประเวณี เว้นแต่จะพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจได้ว่ามิได้เป็นเช่นนั้น

(1) อยู่ร่วมกับผู้ซึ่งค้าประเวณี หรือสมาคมกับผู้ซึ่งค้าประเวณีคนเดียวหรือหลายคนเป็นอาจิณ
(2) กินอยู่หลับนอน หรือรับเงิน หรือประโยชน์อย่างอื่น โดยผู้ซึ่งค้าประเวณีเป็นผู้จัดให้
(3) เข้าแทรกแซงเพื่อช่วยผู้ซึ่งค้าประเวณีในการทะเลาะวิวาทกับผู้ที่คบค้ากับผู็อื่นค้าประเวณีนั้น

บทบัญญัติแห่งมาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับค่าเลี้ยงดูจากผู้ซึ่งค้าประเวณี ซึ่งพึงให้ค่าเลี้ยงดูนั้นตามกฏหมายหรือตามธรรมจรรยา

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายอาญา (ฉบับที่ 20) พ.ศ 2550

มาตรา 277 ทวิ (ใหม่) ถ้าการกระทำผิดตามมาตรา 276 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 277 วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำ

(1) รับอันตรายสาหัส ผู้กระทต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่สามหมื่นถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต
(2)ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต

มาตรา 277 ตรี (ใหม่) ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 276 วรรคสามหรือมาตรา 277 วรรคส เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำ

(1) รับอันตรายสาหัส ผู้กระทต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
(2) ถึงแก่ความตาย ผู้กระทต้องระวางโทษประหารชีวิต

พระราชบัญญติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์ (ฉบับ 16) พ.ศ 2550

มาตรา 1445 (ใหม่)

ชายหรือหญิงคู่หมั้นอาจเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งได้ร่วมประเวณีกับคู่หมั้นของตนโดยรู้หรือควรจะรู้ถึงการหมั้นนั้น เมื่อได้บอกเลิกสัญญาหมั้นแล้วตามมาตรา 1442 หรือมาตรา 1443 และ้วแต่กรณี

มาตรา 1446 (ใหม่)

"ชายหรือหญิงคู่หมั้นอาจเรียกค่าตอบแทนจากผู้ซึ่งได้ข่มขืนกระทำชำเราหรือพยายามข่มขืนกระทำชำเราคู่หมั้นของตนโดยรู้หรือควรรู้ถึง การหมั้นนั้นโดยไม่จำต้องบอกเลิสัญญาหมั้น

มาตรา 1447/1 (ใหม่)

"สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตามมาตรา 1445 และมาตรา 1446 ให้มีอายุความหกเดือนนับแต่วันที่ชายหรือหญิงคู่หมั้นรู้หรือควรรู้ถึงการกระทำของผู้อื่นอันจะเป็นเหตุให้เรียก ค่าทดแทนและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าทดแทนนั้น แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ผู้อื่นนั้นได้กระทำการดังกล่าว"

มาตรา 1516 (1) ใหม่ เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้

(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟอ้งหย่าได้