โลกหมุนได้ด้วยมือฉัน
ขอบคุณที่ท่านให้ความสนใจในโครงการสร้างเสริมทักษะ
ชีวิตและสุขภาพทางเพศ “โลกหมุนได้ด้วยมือฉัน”
บทนำ
ลักษณะของโปรแกรม/ โครงการ
คำถามที่ถูกถามบ่อยที่สุด
ขอขอบคุณ
ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
บทนำ
การสร้าง internet และเส้นทางลัดความเร็วสูงของข้อมูล
(Superhighway) ทำให้วัยรุ่นได้มีโอกาสมากขึ้นในการมี
ปฏิสัมพันธ์
ทางสังคมกับคนอื่นๆ หรือมีปฏิสัมพันธ์กับ
สถานการณ์
จำลองในคอมพิวเตอร์รวมทั้งเกมๆ ต่างอีก
ด้วย ซึ่งการท่องไปใน Internet นั้นอาจเหมือนกับการ
ใช้ชีวิตโลดแล่น ได้กว้างไกลกว่าการดำเนินชีวิตจริงๆ
เสียอีก ทั้งนี้เพราะประสบการณ์ในโลกเสมือน(virtual life)
เต็มไปด้วยความตื่นเต้นน่าสนใจ และแรงดึงดูดที่ทำให้
อยากเข้าไปเรียนรู้ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์
เพื่อขยายวิธีการเรียนรู้ เป็นสิ่งจำเป็นในโลกปัจจุบัน
ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Internet เพื่อเชื่อมต่อ/ ติดต่อกับ
คนอื่นๆ ทั่วโลก หรือจะเป็นการเข้าไปเรียนรู้จาก
สถานการณ์จำลองที่ท้าทายแต่เสมือนจริง ซึ่งคอมพิวเตอร์
สร้างขึ้น
คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศแบบดิจิดอล
ได้ส่งผลต่อเรา ในแง่ของการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน
การสื่อสาร
การท่องเที่ยวและการเข้าถึงบริการต่างๆ รวม
ทั้งการการเรียนรู้ด้วย
จึงไม่ต้องสงสัยว่าผลกระทบของ
เทคโนโลยีที่มีต่อทุกแง่มุมของชีวิตประจำวันจะมีเพิ่มขึ้น
เรื่อยๆ จริงๆแล้ว
เทคโนโลยีกำลัง สร้าง/ ปรับ รูปแบบ
สังคมของเรา เนื่องจากเทคโนโลยีทำให้สิ่งที่เคยเป็นเพียง
จินตนาการกลับกลายเป็นความจริงขึ้นมาได้
ในปัจจุบัน
เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้วว่า ความรู้เรื่องเทคโนโลยี
ได้กลายเป็นทักษะพื้นฐานจำเป็นอันใหม่ ดังนั้นจึงกลาย
เป็นพื้นฐานใหม่สำหรับการศึกษาด้วยเช่นกัน The
World Population Foundation (WPF) จึงได้ร่วมมือกับ
Butterfly Works เครือข่ายโรงเรียนในประเทศอูกานด้า
(Schoolnet Uganda) รวมทั้งครูและเด็กวัยรุ่นในอูกานด้า
เพื่อพัฒนาวิธีวิทยา (Methodology) อันมีจุดประสงค์เพื่อ
ปรับปรุงสมรรถนะ / ความสามารถทางสังคมของวัยรุ่นทั้ง
กลุ่มที่กำลังเรียนอยู่ในโรงเรียน และกลุ่มที่ออกจากหรือ
ไม่ได้เรียนในโรงเรียน จนในที่สุด ได้ผลออกมาเป็น
หลักสูตร/โครงการ The World Starts With Me (WSWM)
เมื่อประสบความสำเร็จอย่างสูงในประเทศอูกานด้า WPF
จึงคิดขยายการใช้โครงการไปยังคนหนุ่มสาวในประเทศ
ต่างๆ กล่าวคือ เคนยา อินโดนีเซีย และไทย สำหรับ
ในประเทศไทยนั้น เนื้อหาในหลักสูตรได้ถูกปรับเปลี่ยน
จนเหมาะสมกับสังคมวัฒนธรรม และเด็กวัยรุ่นไทย
นอกจากนี้ ชื่อโครงการได้ถูกเปลี่ยนไปใหม่เป็น “โลก
หมุนได้ด้วยมือฉัน”โครงการโลกหมุนได้ด้วยมือฉัน”เสนอ
โอกาสพิเศษที่ไม่เหมือนใครสำหรับการเรียนเพศศึกษา
แบบร่วมสมัย สารัตถะของโครงการอยู่ที่การเน้นในสิทธิ
มนุษยชนประกอบกับทัศนคติ และแนวทางเชิงบวกต่อ
เรื่องเกี่ยวกับวิถีทางเพศ (Sexuality) เนื่องจากมองว่า
องประเด็นดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของบุคคลในการ
พัฒนาความสามารถทางสังคมและทางเทคนิค อาทิ ทักษะ
ในการเจรจาต่อรอง ทักษะในการใช้วิธีการคุมกำเนิด
และสิทธิที่จะปฏิเสธเซ็กซ์ ความสามารถเหล่านี้เป็นสิ่ง
จำเป็นสำหรับการตัดสินใจที่ถูกต้องภายใต้การรับรู้ข้อมูล
อย่างครบถ้วน (informed decision making)
โปรแกรมส่งเสริมทักษะชีวิตและอนามัยเจริญพันธุ์ที่สร้าง
ขึ้นนี้ง่ายต่อการนำไปใช้ และสามารถถูกปรับให้เข้ากับ
บริบทสังคมอื่น (เพื่อตอบรับกับข้อมูลย้อนกลับที่มาจาก
ผู้ใช้โปรแกรมเอง) ได้อย่างรวดเร็ว ปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะ
เป็น (ก) สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยของกระบวนการการเรียน
รู้ผ่าน e-learning และผ่านการเรียนรู้และสอนตัวเอง
(ข) การเรียนรู้แบบที่มีผู้เรียนเป็นผู้ขับเคลื่อนการเรียนรู้
เอง จะช่วยอำนวยการให้/ ส่งเสริมให้ เกิดการเรียนการ
สอนอย่างมีปฏิสัมพันธ์ ในประเด็นที่มีละเอียดอ่อนหรือมี
ความอ่อนไหว กระบวนการเรียนรู้ที่ถูกจัดอย่างเป็น
ระบบและมีรูปแบบที่เหมือนกัน จะช่วยประกันคุณภาพ
ของการเรียนรู้ไม่ว่าจะถูกนำไปสอน/ อำนวยการเรียนรู้
ในพื้นที่ไหนก็ตาม การเชื่อมโยงระหว่างตัวเนื้อหา/
ตัวหนังสือและเทคนิคทางภาพและเสียง ส่งผลอย่างมี
ประสิทธิภาพต่อการซึมซับเอาความรู้ ก่อร่างสร้างทัศนคติ
หรือทักษะผ่านกระบวนการการเรียนรู้ ที่มีต้นแบบ หรือ
ตัวอย่างที่ดี
back to top
ลักษณะของโปรแกรม/ โครงการ
“โลกหมุนได้ด้วยมือฉัน” เป็นหลักสูตรการป้องกันสุขภาพ
ทางเพศ และ HIV/AIDS หลักสูตรนี้ประกอบด้วย 14 บท
เรียน โดยในทั้งส่วนของครู และส่วนของนักเรียน จะ
ประกอบไปด้วยคำอธิบายวัตถุประสงค์การเรียนรู้ การบ้าน
/
งานที่มอบหมาย (Assignment) กิจกรรมอุ่น
เครื่อง กิจ-
กรรมการนำเสนอผ่านสไลด์ เกมต่างๆ เครื่องมือต่างๆ
คำแนะนำ รวมทั้งเรื่องราวต่างๆ สำหรับการทำบทบาท
สมมติหรือทำภาพเรื่องราวประกอบคำพูด (สตอรี่บอร์ด-
Story board) นอกจากนี้ ยังมีเวทีที่เปิดโอกาสให้ทั้งครู
และนักเรียนได้แลกเปลี่ยนข้อแนะนำต่างๆ และเพื่อจัดทำ
Website ของกลุ่มเพื่อ แสดงผลงานต่างๆที่ได้ทำขึ้นในช่วง
การดำเนินการสอนที่ผ่านมา
บทเรียนทั้ง 14 บทเรียนได้รับการออกแบบให้จัดเรียง
ลำดับอย่างเป็นเหตุเป็นผล เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการ
เรียนรู้เรื่องสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ โดย
แบ่งออกเป็น 4 ส่วน กล่าวคือ (ก) ปูพื้นฐาน (ข) สิ่งแวด
ล้อมทางสังคม (ค) ประเด็นอนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาพ
ทางเพศและ (ง) ปฏิบัติจริงในการตั้งเป้าหมายอนาคตและ
เชื่อมโยงความรู้สู่ชุมชน
Lessons
1 : โลกหมุนได้ด้วยมือฉัน
2 : อารมณ์ไหนเนี่ย
3 : ร่างกายของเธอเปลี่ยนแปลงด้วยหรือ ?
4 : มิตรภาพและความสัมพันธ์
5 : หนุ่ม สาว ชาย หญิง
6 : สู้เพื่อสิทธิของตน!
7 : วิถีชีวิตด้านเพศ (เพศวิถี) และความรัก
8 : การตั้งครรภ์ : ประเด็นสำหรับสาวๆ หนุ่มๆ
9 : ป้องกันตัวเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
10: เอชไอวี / เอดส์ : เธอก็เกี่ยวนะ
11: รักไม่ทำร้าย
12: อนาคต ความฝันและแผนงานของคุณ
13: หนังสือสุดยอดเทคนิคของฉัน
14: การจัดนิทรรศการ
โดยปกติทุกบทเรียนจะเริ่มต้นด้วยกิจกรรมการอุ่นเครื่อง
ที่เกี่ยวกับประเด็นหลักของบทเรียนนั้นๆ แล้วตามด้วย
การนำเสนอของเหงี่ยมและแหยม ซึ่งเป็นเสมือน ‘วัยทีน
ช่วยเพื่อน’ หรือเพื่อนที่เรียนรู้ไปด้วยกัน (peer
educators) เหงี่ยมและแหยมเป็นตัวละครที่จะเป็นผู้ให้
ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาของหลักสูตรทั้งหมด
ขั้นตอนต่อไป
ก็คือเกม(เช่นบทที่ 3 - เกมร่างกายของฉันมีอะไรเปลี่ยน
ไป, บทที่ 1- เกม
บุคลิกภาพ, บทที่ 5- เกมใครเป็นผู้รับ
ผิดชอบงานหรือภาระหน้าที่อะไร หรือบทที่ 9 - เกมแบบ
ทดสอบความสัมพันธ์ทางเพศที่ปลอดภัย) ซึ่งเกมเหล่านี้
จะช่วยให้นักเรียนได้ซึมซับข้อมูล ความรู้ต่างๆ รวมทั้งได้
สำรวจความคิดเห็นที่หลากหลายด้วย ขั้นตอนต่อจาก
กิจกรรมเกมเป็นขั้นตอนหลักที่สำคัญที่สุดของหลักสูตรนี้
ซึ่งได้แก่การบ้าน/งานที่มอบหมาย (หรือ “จากการเรียนรู้
สู่การปฏิบัติ/ สะท้อนการเรียนรู้) งานที่มอบหมายนี้ จะ
เป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ อาทิ การให้
นักเรียนคิดภาพเรื่องราวประกอบคำพูด (Story board)
งานศิลปะ หรือแสดงบทบาทสมมติ โดยใช้วิธีการทาง
ดิจิดอล (คอมพิวเตอร์)
โปรแกรมนี้มีไว้สำหรับใครบ้าง?
“โลกหมุนได้ด้วยมือฉัน” ถูกผลิตขึ้นเพื่อเด็กวัยรุ่นที่อายุ
ตั้งแต่ 12-19 ปี เพื่อใช้กับโรงเรียนระดับมัธยมต้น และ
ศูนย์หรือแหล่งอำนวยการเรียนรู้นอกโรงเรียนต่างๆ เช่น
ศูนย์การเรียนรู้ทางไกลและองค์กรเยาวชนต่างๆ โดยที่
มุ่งหมายให้นักเรียน/ เด็กวัยรุ่นเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้
โปรแกรมที่ใช้ในหลักสูตรถูกพัฒนาเพื่อให้เด็กวัยรุ่นใช้
ได้อย่างง่ายๆ นอกจากนี้ ยังถูกออกแบบมาให้ง่ายสำหรับ
ครูผู้สอนในแง่ที่ว่าครูจะสามารถค้นหาเอกสารหรืออุปกรณ์
ประกอบการสอนเพิ่มเติม (Materials) และคำแนะนำต่างๆ
ที่จำเป็นต้องใช้จากตัวโปรแกรม รวมทั้งครูยังมีตัวช่วยคือ
แหยมและเหงี่ยม มาทำหน้าที่เป็นเพื่อนผู้ช่วยแนะนำ
ผู้เรียนซึ่งจะให้ข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับเพศวิถี และ
สุขภาพทางเพศ
หลักสูตรรุ่นแรกภายใต้ชื่อ The World
Starts With Me ได้ถูกออกแบบมาเพื่อนำไปใช้กับสำหรับ
วัยรุ่นชาวอูกานด้า และขณะนี้ถูกนำไปใช้จริงในโรงเรียน
แล้ว กล่าวคือ ปี 2548 มีโรงเรียน 34 โรงในอูกานด้าที่นำ
โครงการนี้ถูกผนวกเข้าไป เป็นส่วนสำคัญของหลักสูตร
ของโรงเรียน ปี 2547 หลักสูตรนี้เป็นโครงการนำร่อง
ในประเทศเคนย่า และในปีถัดมา ก็ได้มีการปรับแก้ให้
เหมาะสมสำหรับวัยรุ่นชาวเคนย่า สำหรับในประเทศไทย
การนำร่องโครงการนี้เริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน 2549 โดย
มี 6 โรงเรียนในกรุงเทพมหานครเป็นโรงเรียนนำร่อง
back to top
คำถามที่ถูกถามบ่อย
เด็กวัยรุ่นสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้หรือ?
แม้ว่าในขณะนี้เด็กวัยรุ่นจำนวนหนึ่ง ยังเข้าถึงคอมพิว
เตอร์ได้น้อยมาก แต่อย่างไรก็ดี อัตราการเพิ่มของ
จำนวนคอมพิวเตอร์ก็ยังมีมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนั้นยัง
โครงการริเริ่มใหม่ ๆ มากมายที่พยายามจะจัดหาเครื่อง
คอมพิวเตอร์ให้กับโรงเรียน และศูนย์เยาวชนต่างๆ
สำหรับโครงการนี้ คอมพิวเตอร์จะเป็นเครื่องมือพื้นฐาน
และสามารถจัดให้มีนักเรียน 4 - 5 คน ต่อเครื่องคอม
พิวเตอร์ 1 เครื่อง ซึ่งโปรแกรมที่ออกแบบมา ตั้งใจจะ
รองรับสัดส่วนดังกล่าวอยู่แล้ว ในหลักสูตรที่พัฒนารุ่นล่า
สุดจะพัฒนาให้สามารถทำทุกแบบฝึกหัด / กิจกรรมได้
โดยไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้
มีโปรแกรมที่กล่าวถึงการป้องกันเอดส์เพียงพอแล้ว
หรือไม่?
มีความคิดริเริ่มใหม่ๆ มากมายที่กล่าวถึงหรือตีแผ่ประเด็น
เกี่ยวกับ เอชไอวี/ เอดส์ จากหลายๆ แง่มุม คนส่วนใหญ่
เห็นพ้องต้องกันว่าการป้องกันกันก่อนย่อมดีกว่าการรักษา
ภายหลัง โปรแกรมนี้จึงน่าสนใจเพราะเป็นการปลูกฝัง
การป้องกัน เอชไอวี / เอดส์ในแง่มุมด้านสุขภาพต่างๆ
เช่นการทำความรู้จักตัวเองให้มากขึ้นเพศวิถี การตั้งครรภ์
ในวัยเรียน/ ช่วงวัยรุ่น และการคุกคาม/ ล่วงละเมิดทาง
เพศ โดยใช้แนวความคิดเกี่ยวกับสิทธิ์เป็นพื้นฐานใน
การสอนซึ่งตรงกับนโยบายของ WPF นอกจากนี้ กิจกรรม
ต่างๆ ในหลักสูตรยังเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกฝนทักษะ
การใช้คอมพิวเตอร์อีกด้วย
หลักสูตร/โปรแกรมนี้เหมาะกับเด็กวัยรุ่นที่ไม่รู้หนังสือ
หรือไม่ ?
โปรแกรมนี้ได้พัฒนาสำหรับผู้เรียนที่สามารถอ่านหนังสือ
ออก เราหวังว่าจะขยายขอบเขตของหลักสูตรให้กับกลุ่มคน
ที่ไม่รู้หนังสือ รวมทั้งปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับเด็ก
ที่อายุต่ำกว่า 14-19 ปีด้วย
ครูจะสามารถอำนวยการเรียนรู้หลักสูตรนี้ได้อย่างไร?
ครูที่สอนโปรแกรมนี้จะได้รับการอบรมประมาณ 1 สัปดาห์
เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศและอนามัยและสิทธิ
การเจริญพันธุ์ รวมทั้งได้รับการอบรมให้เข้าใจถึงการ
ใช้โปรแกรมนี้ เนื่องจากโปรแกรมนี้ถูกออกแบบมาเพื่อ
อำนวยความสะดวกให้กับครูผู้สอนอย่างเต็มที่และถูกทำ
ให้ใช้ได้ง่าย ดังนั้น ครูผู้สอนจึงไม่จำเป็นต้องเป็นผู้-
เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทางเพศ หรือแม้กระทั่งเป็น
ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์มากไปกว่านี้ ในโปรแกรม
ยังได้บรรจุเนื้อหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไว้อย่างครบถ้วน
เด็กวัยรุ่นจะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการนี้
ได้อย่างไร
โครงการ “โลกหมุนได้ด้วยมือฉัน” นี้ แม้ว่าจะปรับมาจาก
ต้นฉบับจากประเทศอูกานดา แต่ได้มีการตั้งคณะทำงาน
ขึ้นเพื่อปรับ เพิ่มเติม ถกเถียงในรายละเอียดเนื้อหา
คณะทำงานดังกล่าวนอกจากจะประกอบไปด้วยครู ศิลปิน
ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทางเพศ และอนามัยเจริญพันธุ์
แล้ว เด็กวัยรุ่นก็เป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่งด้วย นอกจากนี้
ระหว่างการทำโครงการนำร่อง 6 โรงเรียนสำหรับปีการ
ศึกษา 2549 ทั้งครู และนักเรียนของโรงเรียนใน
กรุงเทพฯทั้ง 6 โรงเรียนจะเป็นผู้ที่ให้ข้อมูลย้อนกลับและ
ความเห็นต่างๆเกี่ยวกับรูปแบบ เนื้อหา และประโยชน์
ของโปรแกรมนี้
โปรแกรมนี้สามารถปรับให้เข้ากับบริบท/ สถานการณ์
ในที่อื่นๆ หรือ ภาษาอื่นๆได้ง่ายหรือไม่ ?
โดยหลักการแล้ว โปรแกรมนี้สามารถปรับให้เข้ากับ
ทุกภาษาและทุกบริบท/ สถานการณ์ (ทุกชาติ/ สังคม/
วัฒนธรรม ทุกภาษา) เราจำเป็นที่จะต้องเริ่มต้นจากการ
พิจารณาที่กลุ่มเป้าหมาย แล้วปรับเนื้อหาต่างๆ ให้ตรงกับ
ความต้องการของพวกเขา สำหรับในด้านเทคนิค ถือว่า
ค่อนข้างง่ายที่จะปรับโปรแกรมให้เข้ากับบริบทของแต่ละ
วัฒนธรรม เช่น การเปลี่ยนรูปภาพหรือ เนื้อหาบน
Website
ใครๆก็สามารถเริ่มใช้โปรแกรมนี้ได้หรือไม่ ?
ไม่มีข้อห้ามในการนำโปรแกรมไปใช้ ตรงกันข้าม เรา
ต้อง
การส่งเสริมให้มีคนนำโปรแกรมนี้ไปใช้ให้มาก
ที่สุด ครูที่ใช้โปรแกรมนี้จะได้รับการฝึกอบรมขั้นสูง และ
จะได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านสุขภาพ
ทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์เมื่อมีข้อสงสัยต่างๆ ยิ่ง
กว่านั้นองค์ประกอบหนึ่งของโครงการนี้คือ การจัดทำ
ข้อตกลงกับสถานบริการที่เป็นมิตรต่อวัยรุ่น ซึ่งให้บริการ
ด้านคำปรึกษาและ ด้านการแพทย์ ทั้งนี้เพื่อให้ความ
ช่วยเหลือแก่เด็กวัยรุ่นที่เข้ามารับบริการซึ่งมักมาพร้อม
กับปัญหาที่ครูอาจไม่สามารถช่วยแก้ไขให้ได้ ถ้าคุณ
สนใจที่จะใช้หลักสูตรนี้ขอให้ติดต่อ wswm@wpf.org.
back to top
การติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
ถ้าคุณเป็นครูอาจารย์ อาจารย์ใหญ่ ผู้ให้คำปรึกษา/
ที่ปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือ ผู้จัดการโครงการ
และต้องการจะได้รับข้อมูล เกี่ยวกับการปรับโครงการ
“โลกหมุนได้ด้วยมือฉัน” ให้เข้ากับงานของท่าน
เราอยากให้ท่านติดต่อเรามาโดยตรง กรุณาส่งจดหมาย
อีเลคโทรนิค (e-mail) มาที่
wswm@wpf.org